วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เมื่อการกู้บ้าน ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร ไม่ค่อยผ่าน ถึงเวลาที่เจ้าของโครงการจะมาปล่อยกู้เองแล้ว


เนื่องจากภาวะในปัจจุบัน ผู้คนทั่วไปที่ต้องการมีบ้าน ไปดู ไปเลือกบ้านไว้ จอง ซื้อ แต่พอถึงเวลาต้องไปยื่นกู้ขอสินเชื่อบ้าน กลับกู้ไม่ผ่าน ล่าสุดตัวเลขอัตราการยื่นกู้ไม่ผ่าน หรือ Reject Rate  อยู่ไม่ต่ำว่า 50% เข้าไปแล้ว ทำให้ปัญหานี้ กระทบกับผู้ประกอบการ พวกดีเวลลอปเปอร์ โครงการบ้านจัดสรร เจ้าของโครงการคอนโด หรือเรียกง่ายๆว่า เจ้าของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ได้รับผลกระทบนี้เป็นอย่างมาก คือ ขายได้ แต่ลูกค้ากู้ไม่ผ่าน ก็โอนไม่ได้ นั่นเอง

ปัญหาและสาเหตุ มีหลายสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ กู้ไม่ผ่าน หลักๆ มี 3 สาเหตุ คือ 

1. ภาระหนี้สูง หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อบุคคล หนี้ผ่อนรถ สรุปคือหนี้บานเลยครับ
2. เคยมีประวัติชำระหนี้ไม่ตรง ประวัติในเครดิตบูโร ไม่ดี หรือ ที่ชอบเรียกกันติดปากว่า ติดเครดิตบูโร
3. อาชีพอิสระ Freelance อาชีพค้าขาย ออนไลน์ ซึ่งอาชีพในกลุ่มนี้ ปัจจุบัน มีคนประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และสามารถมีรายได้ ดูแล เลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ แต่ธนาคารยังใช้หลัก และกรอบในการอนุมัติสินเชื่อแบบเดิมๆ ซึ่งมองว่า อาชีพคนรับเงินเดือน ยังคงมีความมั่นคงในได้รายได้มากกว่า 

จากปัญหาดังกล่าว คร่าวๆ นี้ ทำให้ กลุ่มผู้ประกอบการ บริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้รวมกลุ่ม และมีการประชุม และได้สรุปข้อตกลงกัน ในการจัดตั้ง บริษัทขึ้นมา โดยแต่ละบริษัท จะถือหุ้นกระจายกันไป และทำการปล่อยกู้ให้กับ ลูกค้าที่มาซื้อบ้านในแต่ละโครงการ ที่เป็นสมาชิก ซึ่งในเชิงนิติกรรม ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะทำในรูปแบบการจำนอง หรือ การทำสัญญาเช่าซื้อ โดยหลังจากมีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าแล้ว ลูกค้าทำการผ่อนชำระหนี้ ไปอย่างน้อย 6-12 เดือน หากลูกค้ารายไหน มีประวัติการผ่อนหนี้ดี ก็จะทำการขายหนี้ ในส่วนนี้ ให้กับ บตท. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทำการซื้อหนี้ไปบริหารต่อ และ บตท. จะเอาสัญญาหนี้แต่ละรายนำเอาไปแปลงจากหนี้ เป็นตราสาร ขายในตลาดตราสารหนี้ ต่อไป

ในส่วนตัวของผม ผมมองว่า นี้มันคือ SubPrime ภาคประเทศไทยเลยนะ ซึ่ง อเมริการเคยหายนะมาจากนโยบายประมาณนี้มาแล้ว ในอนาคต หลักการหรือ แนวคิดนี้ จะสร้างประโยชน์ให้กับ ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย หรือ อาจจะสร้างความเสียหาย ให้กับ ภาคการเงินของประเทศไทย กันแน่ ยังไม่มีใครตอบได้ โดยโปรเจคนี้ ในส่วนขององค์กรที่เกี่ยวข้องกำลังประชุมเพื่อผลักดัน ให้เป็นมาตรการออกมาใช้ให้ได้ ในปี 2561 นี้ ลองดูกันต่อไปครับว่า จะหมู่ หรือ จ่า 

สำหรับท่านที่สนใจ มีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกครับ


วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กลุ่ม GenY ต้นเหตุ สร้างหนี้เสีย ในภาคอสังหาริมทรัพย์


หนี้เสีย NPL เห็นเขาว่ากันว่า ปีหน้า หนี้เสียอสังหาริมทรัพย์ มาแรง มาแน่นะครับ หนี้เสียภาคอสังริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น ธปท.คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจาก ทั้งธนาคาร และเจ้าของโครงการร่วมกันจัดโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถมกระหน่ำกันอย่างโครมครามนะครับ

เครดิตบูโรเผยหนี้เน่ากว่า 1.1 แสนราย ส่วนใหญ่เกิดมาจาก ลูกค้ากลุ่ม GenY อายุเฉลี่ย 25-37 ปี กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เพิ่งเริ่มสร้างหนี้ในการผ่อนบ้าน

ปัจจุบันนี้ มีนิยามใหม่ของหนี้ เรียกว่า หนี้แฝด คือ หนี้แรกคือ หนี้ NPL ที่เรียกว่าเป็นหนี้เสีย เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน และหนี้อีกตัวคือ SM ( Special Mention Loan ) เป็นหนี้ค้างชำระ ตั้งแต่ 30-90 วัน แต่ยังไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย ถึงขั้นยกเลิกสัญญา ( หนี้เสีย NPL ) ส่วนใหญ่หนี้ในกลุ่ม SM นี้ ถ้าในสถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารจะสามารถควบคุม และสามารถดึงลูกค้ากลุ่ม SM นี้ ให้กลับมาเป็นลูกค้าที่ชำระหนี้เป็นปกติได้ จากการเจรจากันระหว่าง ธนาคาร กับลูกหนี้ และหนี้ SM นี้ จะขึ้นๆ ลง ..........แต่ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 เป็นต้นมา หนี้ SM มีการเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่า ปีหน้า 2561 หนี้ในส่วนนี้ น่าจะเปลี่ยนสถานะให้แย่ลงกลายเป็นหนี้เสีย NPL ในที่สุด 

ในปีหน้าคาดว่า จะเป็นอีกปีที่ภาคธนาคาร จะต้องเผชิญกับ หนี้เสีย NPL และหนี้เริ่มจะเสีย SM หนี้คู่แฝด 2 ตัวนี้ คงจะตามหลอกหลอนธนาคารหลายๆ แห่ง ไปทั้งปี 2561 แน่ ขอให้ สถาบันการเงินโชคดีละกันครับ

สำหรับที่สนใจ อยากมีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ


วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธี เตรียมตัวรีไฟแนนซ์บ้าน ให้ผ่าน ต้องทำยังไงบ้าง


การเตรียมตัว เพื่อจะรีไฟแนนซ์บ้าน หลักการ และแนวทาง ในการเตรียมตัว เตรียมเอกสารควรต้องทำอย่างไรบ้าง และในกรณีไหนบ้าง ที่จะทำให้ รีไฟแนนซ์บ้านไม่ผ่าน ลองฟังคลิปนี้ดูครับ

สนใจ มีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ฟินเทค FinTech อาละวาด ปล่อยกู้กันเองแบบ P2P ไม่พึ่งธนาคาร สำหรับสินเชื่อธุรกิจ SME


ตอนนี้กลุ่ม Start Up ด้านการเงินที่เราเรียกกันว่า ฟินเทค FinTech หลายๆกลุ่ม ที่พยายามจะทำการปล่อยกู้เงิน ปล่อยสินเชื่อกันเองโดยผ่านตัวกลางคือ ฟินเทคเหล่านี้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการปล่อยกู้ของธนาคาร หรือที่เรียกว่า การปล่อยกู้แบบ P2P ( Peer to Peer Lending ) 

P2P คือการปล่อยกู้กันเองระหว่าง ผู้กู้ กับ ผู้ให้กู้ โดนผ่านตัวกลาง คือ FinTech ซึ่งกระบวนการ หรือธุรกรรมประเภทนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท เองก็จะเข้ามาควบคุมกำกับ และดูแลอยู่ คาดว่าปีหน้า 2561 จะได้ข้อสรุปว่า สามารถทำได้รึเปล่า

กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่น่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจ SME และสินเชื่อที่ปล่อย จะเป็นสินเชื่อในลักษณะที่ไม่มีหลักประกัน Clean Loan กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ ส่วนใหญ่ ผมว่า น่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ ระดับกลางๆ ถึงเล็ก ที่มีปัญหาในการขอสินเชื่อกับธนาคาร เพราะส่วนใหญ่ไม่มีหลักประกันให้กับธนาคาร

การขอสินเชื่อเหล่านี้ ผู้กู้ต้องการกู้เงิน ก็จะเข้าไปใส่ข้อมูลของตนเอง ผ่านแอพหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการ แล้วก็จะมีกลุ่มนักลงทุน หรือ ผู้ให้กู้ เข้ามาดูข้อมูลวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อพิจารณาว่าจะให้ หรือ ไม่ให้กู้ ต่อไป 

ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ย จะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับผู้ให้กู้ ประเมิน กันเอง กลุ่ม ฟินเทคเหล่านี้ มีเพียงหน้าที่เป็นตัวกลาง เชื่อมโยงข้อมูลให้เท่านั้น ในแง่ของรูปแบบธุรกิจ FinTech เหล่านี้ แสดงความมั่นใจในบริการนี้ว่า จะมีหนี้เสีย NPL ไม่เกิน 2% อันนี้ผมตอบเลยว่า ผมไม่เชื่อ ขนาดธนาคาร มีนักวิเคราะห์สินเชื่อเก่งๆ ประสบการณ์สูง และระบบประมวลข้อมูลอย่างดี ตอนนี้ NPL โดยรวมยังเกิน 3% เลยครับ ส่วนใครจะลองไปกู้ ผมว่าก็น่าสนใจดีนะครับ อย่างน้อยก็อยากรู้ว่า ผู้ให้กู้ เขามีหลักการพิจารณาให้กู้อย่างไร แต่ถ้าให้ผมแนะนำนะครับ การปล่อยกู้แบบไม่มีหลักประกัน สำหรับผม ตัวใครตัวมันครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีปัญหาในการกู้เงิน อยากมีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกครับ 

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

จ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหว คลิปนี้มีวิธีแก้ไขหนี้บัตรเครดิตให้กับคุณ


เมื่อเราเป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อเงินสด สินเชื่อบุคคล มีหนี้หลายกอง หลายเจ้าหนี้ ผ่อนหมุนไปหมุนมา จนเริ่มจะแย่แล้ว เริ่มจะผ่อน และหมุนเงินไม่ไหวแล้ว ลองมาฟังคลิปนี้กันดูนะครับ เผื่อจะช่วยอะไรคุณได้บ้าง

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกครับ

โพสต์แนะนำ

ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ เทคนิค วิธีการ การ กู้เงิน ขอสินเชื่อ แก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับคนที่มีปัญหา กู้เงินซื้อบ้านไม่ผ่าน ขอสินเชื่อกับ ธนาคารไม่ผ่าน แบงก์ ไม่อนุมัติ หรือ ท่านที่มีปัญหาหนี้เสีย ภาระหนี้สินมากและยัง...

บทความที่น่าสนใจ