แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สินเชือบ้าน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สินเชือบ้าน แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564

ก่อน รีไฟแนนซ์บ้าน เราควรรู้อะไรบ้าง? บทความนี้ รวมเงื่อนไข รีไฟแนนซ์บ้าน แต่ละธนาคารมาให้คุณ

 


เมื่อเราได้กู้เงินซื้อบ้าน ได้รับการอนุมัติสินเชื่อบ้านผ่านแล้ว เมื่อเราผ่อนมาสักระยะ เมื่อผ่านพ้นช่วงอัตราดอกเบี้ย Fix Rate เข้าสู่ระยะดอกเบี้ยลอยตัว เราจำเป็นไหม ที่จะต้องขอสินเชื่อบ้านใหม่ จากธนาคารใหม่ มาปิดหนี้ธนาคารเดิม ที่เรียกว่า การรีไฟแนนซ์บ้าน เราควรมีข้อคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง

เราจะต้องเสียค่าอะไรบ้าง ในการ รีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อที่เราจะหาแหล่งเงินกู้ใหม่ ที่อัตราดอกเบี้ยถูกกว่า เราต้องการ ดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ค่างวดผ่อนที่ลดลง แลกกับการที่ต้องยืดหนี้ออกไป เราจะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าจัดการเงินกู้ ค่าจำนอง ค่าประเมิน เมื่อเทียบกันแล้ว หากเราขอต่อรองกับเจ้าหนี้ ธนาคารเดิม และเจ้าหนี้เดิม ลดดอกเบี้ยให้ เราลองมาเปรียบเทียบกันดูว่า การ รีไฟแนนซ์บ้าน คุ้มค่าไหม? 

ผมมีเงื่อนไข ต่างๆ ของแต่ละธนาคาร ในการรีไฟแนนซ์บ้านมานำเสนอครับ 

1.ธนาคารกรุงไทย (KTB)

สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารกรุงไทย มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่อัตราดอกเบี้ยพิเศษเริ่มต้นคงที่ปีแรก 0.64% ต่อปี ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ โดยมีให้เลือก 2 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกัน คือ สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแบบปกติ กับทางเลือกแบบให้ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบมีอัตราดอกเบี้ยต่างกัน

โดย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแบบปกติ ในกรณีของการทำประกันคุ้มครองเงินกู้เป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ต่ำที่สุดของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำที่สุดอยู่ที่ 2.53% แบ่งเป็นปีแรก 0.64% ปีที่ 2 และ 3 MRR-2.75%

2. ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

สำหรับอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านของ ธนาคารกรุงเทพ เฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.58% แบ่งเป็นปีแรก MRR-4.00% ปีที่ 2 MRR-3.75% ปีที่ 3 MRR-1.75% สำหรับกรณีที่หลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยในกลุ่มโครงการที่มีข้อตกลงกับธนาคาร โดยให้วงเงินกู้สูงสุดเท่ากับ 100% ของภาระหนี้คงเหลือ แต่มีเงื่อนไขให้อนุมัติวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป และอยู่ในกรณีของการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ

3. ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (L H Bank)

ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นหนึ่งในสถาบันทางการเงินที่มีทางเลือกของผลิตภัณฑ์สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่หลากหลายที่สุด และมีอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.60% โดยใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นเกณฑ์ในการคำนวณในปีที่ 1 และปีที่ 2 ที่ MRR-5.35% และปีที่ 3 MRR-3.55%

ทั้งนี้ ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด ให้วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 100% ของราคาประเมิน ซึ่งผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ในการกู้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเฉลี่ยต่ำสุดที่ 2.60% นี้ จะต้องอยู่ในเงื่อนไขของผู้กู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป

4. ธนาคารทหารไทย (TMB)

สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ของ ธนาคารทหารไทย แบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน คือ สำหรับลูกค้าทั่วไป และลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี TMB (Payroll) โดยสำหรับลูกค้าทั่วไปจะมีอัตราสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 2.69% ในกรณีของการสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ส่วน ลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี TMB (Payroll) จะมีอัตราสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 2.64% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านเฉลี่ย 3 ปีแรกที่ต่ำที่สุดของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจาก ธนาคารทหารไทย โดยมีวงเงินขั้นต่ำ 500,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 50,000,000 บาท

กรณีรีไฟแนนซ์บ้านพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดคอนโดมิเนียม ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท วงเงินเท่ากับยอดหนี้เดิม หรือสูงสุดไม่เกิน 95% ของราคาประเมินธนาคารฯ แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า และ กรณีรีไฟแนนซ์บ้านพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดคอนโดมิเนียม ราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปวงเงินเท่ากับยอดหนี้เดิม หรือสูงสุดไม่เกิน 90% ของราคาประเมินธนาคารฯ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า รวมไปถึงให้ระยะเวลากู้นานสูงสุดถึง 35 ปี ทั้งนี้ เมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี

5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)

สำหรับ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีอยู่ที่ 2.75% แบ่งเป็นอัตราดกเบี้ยคงที่ในปีแรกเท่ากับ 1.75% และปีที่ 2 เท่ากับ 2.20% และใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปีที่ 3 เท่ากับ MRR-1.75% โดยมีเงื่อนไขสำหรับหลักประกันประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ห้องชุดพักอาศัย ราคาตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป และให้วงเงินกู้สูงสุดที่ 95% ของราคาประเมิน สามารถผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 30 ปี (ระยะเวลาผ่อนชำระรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี)

6. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีชื่อผลิตภัณฑ์ว่า สินเชื่อบ้านสุขสันต์ (Re-in) โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 2.83% สำหรับวงเงินให้กู้รวมทุกบัญชีภายใต้หลักประกันเดียวกันตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป และให้วงเงินกู้สูงสุดตามเกณฑ์หลักประกัน และตามเกณฑ์รายได้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร

นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ สำหรับวงเงินให้กู้รวมทุกบัญชีภายใต้หลักประกันเดียวกันต่ำกว่า 3 ล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.00% ให้วงเงินสูงสุดตามเกณฑ์หลักประกัน และตามเกณฑ์รายได้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร

7. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

สินเชื่อทั่วไปที่รีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่นของ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 4.90% โดยมีเงื่อนไขในการทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่า 70% และในกรณีที่รีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น วงเงินที่ให้กู้สูงสุดต้องไม่เกินวงเงินสินเชื่อเคหะเท่ายอดหนี้เดิมของวงเงินกู้

ทั้งนี้สำหรับลูกค้าทั่วไป ลูกค้าโครงการ / ลูกค้าองค์กร จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ขึ้นอยู่กับประเภทโครงการ หรือ ประเภทองค์กร และเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ SCB.CO.TH

8. ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)

แม้ธนาคารกสิกรไทย จะไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่จัดเจน แต่ก็มีความน่าสนใจเนื่องจากทางธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ลดสูงสุด 1.50% จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า แต่เมื่อคำนวณแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 3.60% ในช่วง 3 ปีแรก หลังจากนั้นจนสิ้นสุดสัญญาจะใช้อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% ในปีที่ 4 เป็นต้นไปจนสิ้นสุดสัญญา โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% ของมูลค่าหลักประกัน หรือ ขึ้นอยู่กับตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขธนาคาร และมีระยะเวลาให้กู้ สูงสุดไม่เกิน 30 ปี (อายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี)

หากทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อบ้านตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด จะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม 0.25% ในปีแรก สำหรับวงเงินกู้เพิ่มจากยอดสินเชื่อบ้านคงค้างของวงเงินสินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ปรับอัตราดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินส่วนเพิ่มขึ้นอีก 0.25% ของอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ ตลอดอายุสัญญากู้

หากคุณมีปัญหา ทั้งด้านหนี้สิน หรือ การหาเงินกู้ ขอสินเชื่อ ให้ผมเป็นที่ปรึกษาคุณซิครับ
คลิกที่นี่เลยครับ Antonio Attorney

และสำหรับท่านผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME หากต้องการกู้เงิน หรือ ปรึกษาแก้ไข ปัญหาภาระหนี้สินมาก ชำระหนี้ไม่ไหว ติดต่อ เราครับ คลิกที่นี่เลยครับ Antonio SME

ติดตาม ข่าวสารอัพเดท แวดวงการเงิน การธนาคาร และ อสังหาฯ ได้ที่ Facebook.com/AntonioAttorney.Company

ติดตาม อีกหลายคลิปของผมที่ YouTube


วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เมื่อการกู้บ้าน ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร ไม่ค่อยผ่าน ถึงเวลาที่เจ้าของโครงการจะมาปล่อยกู้เองแล้ว


เนื่องจากภาวะในปัจจุบัน ผู้คนทั่วไปที่ต้องการมีบ้าน ไปดู ไปเลือกบ้านไว้ จอง ซื้อ แต่พอถึงเวลาต้องไปยื่นกู้ขอสินเชื่อบ้าน กลับกู้ไม่ผ่าน ล่าสุดตัวเลขอัตราการยื่นกู้ไม่ผ่าน หรือ Reject Rate  อยู่ไม่ต่ำว่า 50% เข้าไปแล้ว ทำให้ปัญหานี้ กระทบกับผู้ประกอบการ พวกดีเวลลอปเปอร์ โครงการบ้านจัดสรร เจ้าของโครงการคอนโด หรือเรียกง่ายๆว่า เจ้าของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ได้รับผลกระทบนี้เป็นอย่างมาก คือ ขายได้ แต่ลูกค้ากู้ไม่ผ่าน ก็โอนไม่ได้ นั่นเอง

ปัญหาและสาเหตุ มีหลายสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ กู้ไม่ผ่าน หลักๆ มี 3 สาเหตุ คือ 

1. ภาระหนี้สูง หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อบุคคล หนี้ผ่อนรถ สรุปคือหนี้บานเลยครับ
2. เคยมีประวัติชำระหนี้ไม่ตรง ประวัติในเครดิตบูโร ไม่ดี หรือ ที่ชอบเรียกกันติดปากว่า ติดเครดิตบูโร
3. อาชีพอิสระ Freelance อาชีพค้าขาย ออนไลน์ ซึ่งอาชีพในกลุ่มนี้ ปัจจุบัน มีคนประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และสามารถมีรายได้ ดูแล เลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ แต่ธนาคารยังใช้หลัก และกรอบในการอนุมัติสินเชื่อแบบเดิมๆ ซึ่งมองว่า อาชีพคนรับเงินเดือน ยังคงมีความมั่นคงในได้รายได้มากกว่า 

จากปัญหาดังกล่าว คร่าวๆ นี้ ทำให้ กลุ่มผู้ประกอบการ บริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้รวมกลุ่ม และมีการประชุม และได้สรุปข้อตกลงกัน ในการจัดตั้ง บริษัทขึ้นมา โดยแต่ละบริษัท จะถือหุ้นกระจายกันไป และทำการปล่อยกู้ให้กับ ลูกค้าที่มาซื้อบ้านในแต่ละโครงการ ที่เป็นสมาชิก ซึ่งในเชิงนิติกรรม ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะทำในรูปแบบการจำนอง หรือ การทำสัญญาเช่าซื้อ โดยหลังจากมีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าแล้ว ลูกค้าทำการผ่อนชำระหนี้ ไปอย่างน้อย 6-12 เดือน หากลูกค้ารายไหน มีประวัติการผ่อนหนี้ดี ก็จะทำการขายหนี้ ในส่วนนี้ ให้กับ บตท. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทำการซื้อหนี้ไปบริหารต่อ และ บตท. จะเอาสัญญาหนี้แต่ละรายนำเอาไปแปลงจากหนี้ เป็นตราสาร ขายในตลาดตราสารหนี้ ต่อไป

ในส่วนตัวของผม ผมมองว่า นี้มันคือ SubPrime ภาคประเทศไทยเลยนะ ซึ่ง อเมริการเคยหายนะมาจากนโยบายประมาณนี้มาแล้ว ในอนาคต หลักการหรือ แนวคิดนี้ จะสร้างประโยชน์ให้กับ ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย หรือ อาจจะสร้างความเสียหาย ให้กับ ภาคการเงินของประเทศไทย กันแน่ ยังไม่มีใครตอบได้ โดยโปรเจคนี้ ในส่วนขององค์กรที่เกี่ยวข้องกำลังประชุมเพื่อผลักดัน ให้เป็นมาตรการออกมาใช้ให้ได้ ในปี 2561 นี้ ลองดูกันต่อไปครับว่า จะหมู่ หรือ จ่า 

สำหรับท่านที่สนใจ มีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกครับ


โพสต์แนะนำ

ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ เทคนิค วิธีการ การ กู้เงิน ขอสินเชื่อ แก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับคนที่มีปัญหา กู้เงินซื้อบ้านไม่ผ่าน ขอสินเชื่อกับ ธนาคารไม่ผ่าน แบงก์ ไม่อนุมัติ หรือ ท่านที่มีปัญหาหนี้เสีย ภาระหนี้สินมากและยัง...

บทความที่น่าสนใจ