แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประมูลบ้าน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประมูลบ้าน แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

หลักการ ประมูลบ้าน ที่ดิน ทรัพย์สิน จากกรมบังคับคดี


คลิปที่ 1 หลักการ ในการประมูล การขายทอดตลาด ทรัพย์สิน จากกรมบังคับคดี



คลิปที่ 2 หลักการ และวิธีการ ประมูล ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ที่ดิน บ้าน คอนโด ของกรมบังคับคดี

หลักการ ในการเตรียมตัว ในการที่จะลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ 
จากการประมูล ขายทอดตลาด ทรัพย์จากกรมบังคับคดีครับ

สนใจติดต่อ ที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว
LineID : @antonio ครับ
รายละเอียด คลิกเลยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี ดีไหม?


คำถามที่ว่า ประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี ดีไหม? ดีไม่ดี ผมตอบไม่ได้ แต่ อาจจะมาให้ข้อมูลได้ และก็ตัดสินใจกันเอาเองละกันครับ

ผมมีหลักเกณฑ์ให้พิจารณา ดังนี้
  1. ก่อนที่จะซื้อบ้าน หรือ ไปประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี ต้องไปดูบ้าน ดูสถานที่จริงก่อนนะครับ ว่า ยังมีคนพักอาศัยอยู่รึเปล่า ถ้ามี คำถามคือ คุณเจ๋งแค่ไหน มีวิธีการที่จะขับไล่คนพักอาศัย พวกเขาออกไปไหม โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการทางศาล ซึ่งใช้ระยะเวลานาน อันนี้ ลองคิดตรึกตรองดูก่อนนะครับ
  2. มีคนทั่วไปชอบบอกว่า ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี จะได้บ้าน ได้คอนโด ที่ถูกกว่า ราคาทั่วไป อันนี้ผมไม่เถียง ว่าถูกกว่าจริง แต่ผมจะนำเสนอปัญหาบางประเด็นให้ทราบครับ หากคุณประมูลซื้อคอนโด ก่อนโอนคุณต้องไปชำระค่าส่วนกลาง ที่เจ้าของเก่าค้างไว้ ลองดูนะครับ บางรายผมเห็น โดนเป็นแสน บวกกับราคาที่ประมูลซื้อก็ไม่ได้ถูกกว่าราคาตลาดซะเท่าไรครับ เผลอๆ อาจจะแพงกว่าด้วยซ้ำ ดูดีๆ นะครับ สำหรับค่าส่วนกลางในการประมูลคอนโด แต่ตอนนี้เห็นว่าจะมีกฏหมายใหม่ออกให้ไม่ต้องจ่ายอันนี้ไม่แน่ในว่า สรุปแล้วเป็นยังไงครับ ส่วนบ้านจัดสรร ถ้าไม่มีนิติบุคคลก็สบาย แต่ถ้ามีนิติบุคคลก็ต้องลองเช็คดูก่อน นิติบุคคลบางที่ บ้านไหนค้างค่าส่วนกลางเยอะๆ นิติของหมู่บ้าน เขาจะไปตามอายัดที่ไว้เลยนะครับ 
  3. ในการที่คุณจะซื้อบ้าน ก็ต้องทำสัญญาซื้อขาย ธนาคาร เขาจะให้ วงเงินกู้ไม่เกิน 80-90% สำหรับบ้านมือสอง บ้านที่ประมูลจากกรมบังคับคดีก็เช่นกัน อาจจะให้ ไม่เกิน 80-90% ของราคาซื้อขาย แต่ถ้าเป็นการซื้อขายกันเอง หากผู้ซื้อและผู้ขาย ตกลงร่วมมือกัน ทำสัญญาจะซื้อจะขายให้สูงกว่าราคาจริงที่จะซื้อ เพื่อให้ได้วงเงินสูงขึ้น ตอนกู้ธนาคาร ก็ย่อมทำได้ แต่กรมบังคับคดี เขาเป็นหน่วยงานรัฐ เขาไม่มาทำสัญญาอัพราคาบ้านให้คุณหรอกนะครับ เขาก็ทำราคาตามที่คุณประมูลได้ไปจริงๆ ละครับ เพราะฉะนั้น คุณควรที่จะมีเงินเติมประมาณ 20% ของราคาที่ประมูลบ้านเอาไว้ก่อนนะครับ เพราะธนาคารจะให้คุณกู้ไม่เกิน 80-90% ของราคาประมูลแน่นอน ประมูลซื้อบ้านกรมบังคับคดี ดันราคาประเมินยากครับ
  4. เวลาคุณประมูลซื้อได้แล้ว อีกเรื่องที่หนักสำหรับคนที่ประมูลซื้อไปคือ ทั้ง ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษี ต่างๆ นานา คุณต้องเสียเองนะครับ ผมบอกไว้ก่อน ไม่ถูกนะครับ ยิ่งถ้าเป็นคอนโดด้วย อ้วกแน่ๆ
  5. เวลาธนาคารเขาให้คุณกู้ซื้อบ้าน กรมบังคับคดี ถ้าคุณไปซื้อบ้านโทรมๆมาละก็ บอกเลย ไอ้ความหวังของคุณที่ว่า จะขอกู้เพิ่มเพื่อต่อเติมตกแต่ง ผมบอกเลย อย่าได้หวัง...ยากครับที่จะได้ เพราะฉะนั้น คุณควรจะต้องมีเงินส่วนนี้ไว้อีกต่างหากนะครับ 
หลักๆ ก็นึกได้ประมาณนี้ละครับ สำหรับประเด็นสำคัญๆ ที่จะต้องพิจารณาในการที่คุณจะประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี อะครับ สรุปหลักการใหญ่เลยคือ คุณต้องมีเงินออมส่วนหนึ่งไว้เลยนะครับ เพื่อที่จะประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี แต่สำหรับผมไม่เอาอะครับ กลัวครับ ผมถือหลักฮวงจุ้ย บ้านที่โดนธนาคารยึด เจ้าของเก่า ยังอยู่ไม่ได้ บ้านแบบนี้ผมไม่เอาอะครับ

สำหรับท่านที่ ติดปัญหา เรื่องการกู้เงิน กู้ซื้อบ้าน ขอสินเชื่อบ้าน ธนาคารไม่อนุมัติ มีปัญหา ติดปัญหาเครดิตบูโร ปรึกษากันได้ครับ LineID : @antonio 


โพสต์แนะนำ

ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ เทคนิค วิธีการ การ กู้เงิน ขอสินเชื่อ แก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับคนที่มีปัญหา กู้เงินซื้อบ้านไม่ผ่าน ขอสินเชื่อกับ ธนาคารไม่ผ่าน แบงก์ ไม่อนุมัติ หรือ ท่านที่มีปัญหาหนี้เสีย ภาระหนี้สินมากและยัง...

บทความที่น่าสนใจ