แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กรมบังคับคดี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กรมบังคับคดี แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หลักเกณฑ์ ที่เจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ มีอย่างไรบ้าง?


กรมบังคับคดี มีหลักเกณฑ์ ในการดำเนินการ ยึด หรือ อายัดทรัพย์สินของเรา อย่างไร ในคลิปนี้ จะมาอธิบาย ขั้นตอน และหลักการ ที่เจ้าหนี้ จะขออำนาจ จากกรมบังคับคดี อายัดเงินเดือนของเรา อย่างไร และยังไง รอหาคำตอบในคลิปนี้เลยครับ

เพื่อนๆ ที่สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ติดตามคลิป เกี่ยวกับ การกู้ การขอสินเชื่อ หรือ เรื่องปัญหาหนี้สิน กับธนาคาร ได้ที่ YouTube

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เมื่อมีคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ จะตามสืบทรัพย์ของคุณ


เมื่อคุณเป็นหนี้ และสุดท้ายคุณไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้แล้ว สุดท้ายธนาคาร เจ้าหนี้ ก็จำเป็นจะต้องฟ้องดำเนินคดีกับคุณ แต่มันก็เป็นเพียงคดีแพ่งเท่านั้นนะครับ ไม่ต้องกลัวเรื่องจะต้องติดคุกอะไรนะครับ มันเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญาครับ

และเมื่อศาลตัดสิน และมีคำพิพากษา เจ้าหนี้ เขาก็จะดำเนินการ บังคับคดี เพื่อให้กรมบังคับคดี ยึด และอายัดทรัพย์สินของคุณต่อไป ลองฟังเนื้อหาเกี่ยวกับ เหตุการณ์ที่คุณจะต้องเจอหลังมีคำพิพากษาจากคลิปนี้นะครับ

เพื่อนที่สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ติดตามผมต่อได้ที่ YouTube



วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

หลักเกณฑ์ประมูลบ้านกรมบังคับคดี


จากในหลายๆ ครั้งที่ผมเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดี ส่วนใหญ่เนื้อหาสาระจะเป็นแง่คิดและมุมมองในส่วนของลูกหนี้ หรือ ผู้ที่ถูกเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ในบทความนี้ ผมจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์การประมูลบ้านกรมบังคับคดี ในส่วนของนักลงทุน หรือผู้ที่สนใจจะประมูลซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีกันนะครับ

หลักเกณ์การประมูลบ้านกรมบังคับคดี รายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ ผมขอไม่กล่าวถึงนะครับ จะให้ข้อมูลในส่วนของหัวข้อหลัก ดังนี้
  • การวางเงินเพื่อประมูลทรัพย์ สามารถใช้ได้ทั้ง เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็ค สั่งจ่าย "กองคลัง กรมบังคับคดี"
    • ราคาประเมิน     ไม่เกิน 500,000 บาท                วางเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 
    • ราคาประเมิน เกิน 500,000 - 1,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 50,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 1,000,000 - 5,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 250,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 5,000,000 - 10,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 10,000,000 - 20,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 20,000,000 - 50,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 50 - 100 ล้านบาท วางเงินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
    • ราคาประเมิน เกิน 200 ล้านบาท วางเงินตามที่เจ้าพนักงานกำหนด
  • ราคาตั้งในการประมูล
    • ครั้งที่ 1 ราคาตั้งประมูล 100% ของราคาประเมิน
    • ครั้งที่ 2 ราคาตั้งประมูล 90% ของราคาประเมิน
    • ครั้งที่ 3 ราคาตั้งประมูล 80% ของราคาประเมิน
    • ครั้งที่ 4 ราคาตั้งประมูล 70% ของราคาประเมิน
    • และประมูลครั้งต่อๆ ไป จะไม่ต่ำกว่า 70% ของราคาประเมิน
  • หากทรัพย์ ที่มีคนมาประมูลซื้อได้ แล้วทิ้ง คือ ไม่มาโอนและชำระเงิน ภายในระยะเวลาที่กำหนดจะนำทรัพย์ดังกล่าวออกมาประมูลใหม่ โดยขั้นในการวางเงินจะมากกว่าเดิม 2 เท่า 
  • ใครที่เข้ามาประมูลแล้วไม่สามารถประมูลได้ จะได้เงินหรือแคชเชียร์เช็คคืนทันทีภายในวันประมูล
  • ผู้ซื้อได้ จะต้องชำระเงินค่าทรัพย์ที่ประมูลได้ ภายใน 15 วัน  แต่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 90 วัน แต่ในการยื่นคำร้อง ต้องยื่นก่อนครบกำหนด 15 วัน กรณีที่ใช้ชื่อใครในการประมูล เวลาขั้นตอนการโอน จะต้องโอนซื้อขายให้กับบุคคล คนนั้นเท่านั้น เว้นแต่จะขอใส่ชื่อร่วมตั้งแต่แรกในการประมูล หากผู้ประมูล จำเป็นต้องกู้เงินสินเชื่อจากธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน ควรทำเรื่อง Pre Approved ก่อน
  • ในกรณีที่ ประมูลซื้อทรัพย์นั้นได้แล้ว ลูกหนี้ หรือ บริวาร ไม่ยอมออกจากทรัพย์ ผู้ซื้อสามารถยื่นคำขอต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ เพื่อขอให้ศาลออกคำบังคับให้ลูกหนี้ หรือ บริวาร ออกจากทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องไปฟ้องขับไล่ลูกหนี้หรือบริวารเป็นคดีใหม่อีก หากยังไม่ออก ขอให้ศาลออกหมายบังคับเพื่อให้เจ้าพนักงานไปทำการขับไล่ลูกหนี้ และบริวารให้ได้
  • กรณีที่ผู้ประมูลทิ้งมัดจำ หากขายใหม่ได้ราคาน้อยลงกว่าเดิม ผู้ทิ้งเงินมัดจำต้องรับผิดชอบส่วนต่างราคา และค่าใช้จ่ายในการประมูลด้วย
  • แต่หากผู้ที่ทิ้งมัดจำแล้วกลับมาประมูลใหม่ จะต้องเพิ่มเงินมัดจำ 2 เท่า และหากมาประมูลใหม่ และประมูลได้ จะขอขยายระยะเวลาการโอนออกไป จะต้องวางเงินเพิ่มเท่าไร ขึ้นอยู่กับเจ้าพนักงานเป็นผู้กำหนด


ที่ผมสรุปมาทั้งหมดนี้ เป็นข้อหลักเกณฑ์ หลักๆ ในการที่นักลงทุน ที่สนใจจะลงทุน ซื้อบ้าน คอนโด ที่ดิน จากกรมบังคับคดี ครับ บทความของผมนี้ หวังว่า จะเป็นปนะโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ ขอบคุณครับ สำหรับเพื่อนๆ นักลงทุน ผู้รักการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงิน ติดต่อผมได้ครับ โดย คลิกที่นี่  ครับ

วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การประมูลคอนโด จากกรมบังคับคดี ตามกฏหมายใหม่


สำหรับท่านที่สนใจ ที่จะลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ทาวน์เฮาส์ หรือ คอนโด และสนใจในการประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี โดยเฉพาะในวันนี้ ผมจะกล่าวถึงในเรื่อง การประมูลคอนโด จากการขายทอดตลาด ของกรมบังคับคดี ตามประมวลกฏหมาย แพ่งและพาณิชย์ ม.39 เรื่องค่าส่วนกลาง จะเป็นยังไง ลองฟงคลิปได้เลยครับ

สำหรับท่านที่ สนใจมีที่ปรึกษาทางการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอน ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด ใหม่


หลังจากที่เราโดนธนาคารฟ้อง และศาลได้พิพากษาแล้ว หลังจากขั้นตอนดังกล่าว มาถึงขั้นตอนการยึดทรัพย์ และประกาศขายทอดตลาด จาก กรมบังคับคดี จะเร็ว จะช้ายังไง ลองฟังคลิปนี้ดูครับ

สนใจมีที่ปรึกษาส่วนตัว คลิกเลยครับ  

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หนี้บัตรเครดิต ธนาคารฟ้องแล้ว กรมบังคับคดี ยึดบ้าน ขายทอดตลาดได้นะครับ


การที่เราเป็นหนี้ บัตรเครดิต สินเชื่อเงินสด ถ้าไม่ได้มีการเจรจาแก้ไขหนี้ หรือ ชำระหนี้ แล้วเจ้าหนี้ฟ้อง มีคำพิพากษา เจ้าหนี้สามารถตามยึดทรัพย์สินของเราต่อได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็น ทั้งบ้าน หรือ ที่ดิน ครับ คลิปนี้ มีคำตอบ ครับ

สำหรับท่านที่สนใจ และอยากมีที่ปรึกษาทางการเงินส่วนตัว เพื่อแนะนำการเจรจาหนี้ การแก้ไขหนี้ คลิกเลยครับ

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

หลักการ ประมูลบ้าน ที่ดิน ทรัพย์สิน จากกรมบังคับคดี


คลิปที่ 1 หลักการ ในการประมูล การขายทอดตลาด ทรัพย์สิน จากกรมบังคับคดี



คลิปที่ 2 หลักการ และวิธีการ ประมูล ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ที่ดิน บ้าน คอนโด ของกรมบังคับคดี

หลักการ ในการเตรียมตัว ในการที่จะลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ 
จากการประมูล ขายทอดตลาด ทรัพย์จากกรมบังคับคดีครับ

สนใจติดต่อ ที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว
LineID : @antonio ครับ
รายละเอียด คลิกเลยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี ดีไหม?


คำถามที่ว่า ประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี ดีไหม? ดีไม่ดี ผมตอบไม่ได้ แต่ อาจจะมาให้ข้อมูลได้ และก็ตัดสินใจกันเอาเองละกันครับ

ผมมีหลักเกณฑ์ให้พิจารณา ดังนี้
  1. ก่อนที่จะซื้อบ้าน หรือ ไปประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี ต้องไปดูบ้าน ดูสถานที่จริงก่อนนะครับ ว่า ยังมีคนพักอาศัยอยู่รึเปล่า ถ้ามี คำถามคือ คุณเจ๋งแค่ไหน มีวิธีการที่จะขับไล่คนพักอาศัย พวกเขาออกไปไหม โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการทางศาล ซึ่งใช้ระยะเวลานาน อันนี้ ลองคิดตรึกตรองดูก่อนนะครับ
  2. มีคนทั่วไปชอบบอกว่า ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี จะได้บ้าน ได้คอนโด ที่ถูกกว่า ราคาทั่วไป อันนี้ผมไม่เถียง ว่าถูกกว่าจริง แต่ผมจะนำเสนอปัญหาบางประเด็นให้ทราบครับ หากคุณประมูลซื้อคอนโด ก่อนโอนคุณต้องไปชำระค่าส่วนกลาง ที่เจ้าของเก่าค้างไว้ ลองดูนะครับ บางรายผมเห็น โดนเป็นแสน บวกกับราคาที่ประมูลซื้อก็ไม่ได้ถูกกว่าราคาตลาดซะเท่าไรครับ เผลอๆ อาจจะแพงกว่าด้วยซ้ำ ดูดีๆ นะครับ สำหรับค่าส่วนกลางในการประมูลคอนโด แต่ตอนนี้เห็นว่าจะมีกฏหมายใหม่ออกให้ไม่ต้องจ่ายอันนี้ไม่แน่ในว่า สรุปแล้วเป็นยังไงครับ ส่วนบ้านจัดสรร ถ้าไม่มีนิติบุคคลก็สบาย แต่ถ้ามีนิติบุคคลก็ต้องลองเช็คดูก่อน นิติบุคคลบางที่ บ้านไหนค้างค่าส่วนกลางเยอะๆ นิติของหมู่บ้าน เขาจะไปตามอายัดที่ไว้เลยนะครับ 
  3. ในการที่คุณจะซื้อบ้าน ก็ต้องทำสัญญาซื้อขาย ธนาคาร เขาจะให้ วงเงินกู้ไม่เกิน 80-90% สำหรับบ้านมือสอง บ้านที่ประมูลจากกรมบังคับคดีก็เช่นกัน อาจจะให้ ไม่เกิน 80-90% ของราคาซื้อขาย แต่ถ้าเป็นการซื้อขายกันเอง หากผู้ซื้อและผู้ขาย ตกลงร่วมมือกัน ทำสัญญาจะซื้อจะขายให้สูงกว่าราคาจริงที่จะซื้อ เพื่อให้ได้วงเงินสูงขึ้น ตอนกู้ธนาคาร ก็ย่อมทำได้ แต่กรมบังคับคดี เขาเป็นหน่วยงานรัฐ เขาไม่มาทำสัญญาอัพราคาบ้านให้คุณหรอกนะครับ เขาก็ทำราคาตามที่คุณประมูลได้ไปจริงๆ ละครับ เพราะฉะนั้น คุณควรที่จะมีเงินเติมประมาณ 20% ของราคาที่ประมูลบ้านเอาไว้ก่อนนะครับ เพราะธนาคารจะให้คุณกู้ไม่เกิน 80-90% ของราคาประมูลแน่นอน ประมูลซื้อบ้านกรมบังคับคดี ดันราคาประเมินยากครับ
  4. เวลาคุณประมูลซื้อได้แล้ว อีกเรื่องที่หนักสำหรับคนที่ประมูลซื้อไปคือ ทั้ง ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษี ต่างๆ นานา คุณต้องเสียเองนะครับ ผมบอกไว้ก่อน ไม่ถูกนะครับ ยิ่งถ้าเป็นคอนโดด้วย อ้วกแน่ๆ
  5. เวลาธนาคารเขาให้คุณกู้ซื้อบ้าน กรมบังคับคดี ถ้าคุณไปซื้อบ้านโทรมๆมาละก็ บอกเลย ไอ้ความหวังของคุณที่ว่า จะขอกู้เพิ่มเพื่อต่อเติมตกแต่ง ผมบอกเลย อย่าได้หวัง...ยากครับที่จะได้ เพราะฉะนั้น คุณควรจะต้องมีเงินส่วนนี้ไว้อีกต่างหากนะครับ 
หลักๆ ก็นึกได้ประมาณนี้ละครับ สำหรับประเด็นสำคัญๆ ที่จะต้องพิจารณาในการที่คุณจะประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี อะครับ สรุปหลักการใหญ่เลยคือ คุณต้องมีเงินออมส่วนหนึ่งไว้เลยนะครับ เพื่อที่จะประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี แต่สำหรับผมไม่เอาอะครับ กลัวครับ ผมถือหลักฮวงจุ้ย บ้านที่โดนธนาคารยึด เจ้าของเก่า ยังอยู่ไม่ได้ บ้านแบบนี้ผมไม่เอาอะครับ

สำหรับท่านที่ ติดปัญหา เรื่องการกู้เงิน กู้ซื้อบ้าน ขอสินเชื่อบ้าน ธนาคารไม่อนุมัติ มีปัญหา ติดปัญหาเครดิตบูโร ปรึกษากันได้ครับ LineID : @antonio 


วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บ้านขายทอดตลาด บ้านของกรมบังคดี ทำเล ซอยนวลจันทร์



บ้านเด่น ของการขายทอดตลาด บ้านของกรมบังคับคดีวันนี้  ทำเลซอยนวลจันทร์ เป็นบ้านพร้อมที่ดิน  เนื้อที่ 89 ตรว. ราคาประเมินเจ้าพนักงาน 4.92 ล้านบาท 

ทำเลที่ตั้ง อยู่ในหมู่บ้าน นวลจันทร์  ทำเลดี เดินทางสะดวก นวมินทร์ รามอินทรา เลียบทางด่วน เป็นอีกหนึ่งลิสต์ ที่น่าสนใจ

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ผ่อนบ้านไม่ไหว ธนาคารกำลังจะฟ้อง ลองอ่านดูครับ



กู้เงินธนาคาซื้อบ้าน  แต่เริ่มจะผ่อนไม่ไหว ค้างค่างวดมาหลายงวดแล้ว ธนาคารก็กำลังจะฟ้อง หรือ โดนหมายศาล บางกรณีกำลังจะโดนยึดจากกรมบังคับคดี  

โปรยเนื้อหา ซะน่ากลัวนะครับ แต่สำหรับท่านที่เริ่มจะมีปัญหา หรือบางท่านมีปัญหานี้แล้ว เรามาหาทางช่วยแก้ไขปัญหานี้กันครับ เริ่มเป็นกรณี กรณีไปนะครับ เริ่มจากอาการเบา ไปหาหนักนะครับ

อาการแรก  เริ่มตึงๆ ผ่อนไหวบ้าง ไม่ไหวบ้าง อันนี้แก้ง่ายครับ เราต้องเข้าไปคุยกับเจ้าหนี้เลย เข้าไปหาเขาก่อน ดีที่สุดครับ  เข้าไปเจรจาเพื่อขอปรับลดค่างวดในการผ่อนชำระลง หรือขอขยายระยะเวลาออกไป ตามความสามารถที่เรามีนะครับ  แต่อย่าบอกเด็ดขาดนะครับ ว่าเราไม่ไหว ถ้าความสามารถไม่มีจริงๆ เข้าจะไม่ช่วยครับ  จะรีบดำเนินการฟ้อง และยึดโดยเร็วเลยครับ คือถ้าไม่ไหวจริงๆ นะครับ จากประสบการณ์ของผม  ยังไงคุณก็ต้องพยายามผ่อนบ้าง ไม่ผ่อนบ้าง  หรือ แบบมวยไทยก็เตะ ถีบ เต้นไปรอบๆ อะไรแบบนั้นครับ  และก็มีทางแก้กรณีเดียว คือ ขาย จะขายให้ญาติพี่น้องถือแทนไว้ก่อน  หรือขายแบบจริงๆ ไปเลย  อันหลังนี้ ผมมีบริการรับขายให้นะครับ  กรณีนี้ เรามีเวลาในการขายพอสมควร แบบนี้ได้ราคา เพราะ ไม่ต้องรีบครับ

อาการแบบเกือบหนัก อันนี้ หลังจากที่เราไม่ส่งค่างวดมานาน กว่าปี หรือ เกือบปี ( แล้วแต่นโยบายธนาคาร ) แล้วโดนธนาคารส่งฟ้อง มีหมายศาลมาแปะหน้าบ้าน นัดวันพร้อม หรือ สืบพยาน  อันนี้ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะกลัวมาก  บางคนไปศาล  บางคนไม่ไปศาล  ถ้าใครไม่ไปศาลก็โดนครับ  พิพากษาทันที  ตามที่โจทก์ฟ้อง  หรืออีกกรณีนะครับ  แบบนี้เจอบ่อย  จำเลยไปศาล  แต่ไม่มีทนาย หรือ ที่ปรึกษาครับ ไปเองแบบดุ่ยๆ  ส่วนใหญ่ร้อยทั้งร้อย จะเจอทนายโจทก์ กล่อมครับ " พี่ เดี๋ยวผมจะแถลงศาลแบบนี้นะครับ ปีแรกพี่ผ่อนเท่านี้นะครับ บลาๆๆๆๆๆ  ปีสองขยับเป็นเท่านี้ ปีสาม ปีสี่ ขยับอีกเท่านี้นะครับ บลาๆๆๆๆๆ ปีห้าขยับอีกเท่านี้นะครับ  สุดท้ายพี่ต้องเทหมดนะครับ ok นะครับ พี่ แจ้งท่านว่าเราคุยกันเรียบร้อยแล้วตามนี้นะครับ "  จำเลย " พี่ผ่อนไม่ไหวหรอก ตั้งแต่ปีที่สองนะ มันมากไป " ทนาย " ไม่เป็นไรพี่  ตามนี้ไปก่อน  แล้วเดี๋ยวผมจะคุยกับธนาคารใหม่อีกที  ให้เค้าลดลงให้ ผ่อนไปก่อน  อีกสักสามสี่เดือนผมจะคุยให้ ตามนี้ไปก่อนนะครับ " จำเลย " โอเค ตามนั้น ช่วยพี่ขนาดนี้ ขอบคุณมากครับ "

สรุป จากเหตุการณ์ดังกล่าว สรุปคือ เรียกว่าเป็นการทำ สัญญาประนีประนอมยอมความหน้าศาล  เปรียบเสมือนคำพิพากษา ที่เป็นคดีแดงแล้ว หากลูกนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามนี้ได้ สามารถใช้สัญญาฯ นี้ เป็นคำพิพากษา โดยสามารถตั้งเรื่อง ออกคำบังคับคดี เพื่อยึดทรัพย์ได้เลย  เพราะฉะนั้น ในการเจรจาแก้ไขหนี้ ลูกหนี้ หรือ จำเลย ควรจะต้องว่าจ้างทนายดีกว่าครับ  แต่จะว่าไป ทนายแบบไม่มีจรรยาบรรณ หลอกลูกหนี้  รับเงินเค้ามาไม่ทำอะไรครับ  มีแต่ไปขอเลื่อน จำเลยป่วย ท้องเสีย  ไปขอใบรับรองแพทย์จากคลีนิค ห้องแถว มาขอเลื่อนอย่างเดียว ไม่มีแนวทางช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้  เพื่อให้ ลูกหนี้ กับ เจ้าหนี้ ได้ประนอมหนี้กันจริงๆ   

เราจะเป็นที่ปรึกษาของท่าน เพื่อการเจรจาหนี้ การต่อรอง ขอลดหนี้ ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เจรจาประนอมหนี้ จนถึงกาเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของท่าน หากท่านไม่รู้ หรือ ไม่ค่อยเข้าใจ กลัวเสียรู้เสียเปรียบธนาคาร ลองโทรเข้ามาปรึกษาเราซิครับ เราให้บริการเป็นที่ปรึกษา เพื่อการเจรจาประนอม และปรับโครงสร้างหนี้กับท่าน เพียงท่าน ชำระเงิน จำนวน 2,000 บาท โดยท่านสามารถชำระเงินมาที่ 

ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด      บัญชีเลขที่ 766 2 21897 3
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด  บัญชีเลขที่ 407 0 55631 0
ชื่อบัญชี Yuttana Kosakul

หากท่านชำระเงินค่าบริการแล้ว ส่งสลิปการชำระ แอดไลน์ส่งมาที่ LineID : @antonio แล้วแจ้งที่เบอร์โทรติดต่อ ชื่อ แล้วเราจะติดต่อกลับท่านทันที 
เรื่องเป็นหนี้ธนาคาร อย่าลองเอง ถ้าคุณเจรจาพลาด แล้วแก้ไขยากครับ 

ผมเป็นเจ้าของเว็บไซต์
http://antonioattorney.blogspot.com/
http://antonioattorney.com/
และเพจนี้ครับ https://www.facebook.com/antonioattorney/ 
เรามีประสบการณ์มานาน ไว้ใจ และเชื่อใจเราครับ

ส่วนอีกกรณีที่โดนหมายยึดจากกรมบังคับคดี รอขายทอดตลาดแล้ว ยังไงถ้าไม่ลืม จะมาเขียนเป็นบทความให้ท่านๆ ได้อ่านกันอีกทีนะครับ วันนี้ สวัสดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

การขายทอดตลาดบ้าน ของกรมบังคับคดี แนวใหม่


เริ่มเรื่องนี้อีกครั้ง หลังจากที่ไม่ได้เขียนเรื่องนี้มาเกือบปีครับ เนื่องจาก กรมบังคับคดี เขาได้พักการขายทอดตลาดไปนานเกือบปีทีเดียว  คงจะกลับมาใหม่เดือนพฤษคม 55 นี้ กับเงื่อนไขใหม่ ที่ช่วยให้ ความยุติธรรมกับ ลูกหนี้ ที่ไม่รู้กฏเกณฑ์ กฏหมายมากพอ เรื่องนี้ ผมเองก็มีลูกค้าืัที่ผมต้องดูแลในการขายทอดตลาด อยู่เรื่อยๆ เครียดครับ รับงานนี้  เหมือนเราแบกภาระไว้บนสองบ่าของเราไปด้วย ถ้าสำเร็จ ก็ ดีใจ และได้เงิน (ด้วย) ถ้าไม่สำเร็จ ก็หดหู่ (แต่ก็ยังได้ค่าจ้าง) 

กฏเณฑ์ใหม่นี้ จะเริ่มใช้ประมาณหลังสงกรานต์ 55 หลังจากหายไปนาน ตั้งแต่กลางๆ ปีที่แล้ว ผมว่าก็ดีนะครับ  ที่กรมบังคับคดี เปลี่ยนแปลงกฏอะไรบ้างอย่าง  ให้ยุติธรรม และเห็นอกเห็นใจกับลูกหนี้ที่ไม่รู้เรื่อง และไม่มีความรู้ ตัวผมเองยังเคยเจอเลย กับลูกค้ารายหนึ่ง นี้ถ้าเราไม่รู้อะไร คงโดนเจ้าหน้าที่บางคน กับ นายทุนเงินหนา ประมูลบ้านราคาถูกๆ ไปเรียบร้อยแล้ว


เริ่มเลย เรื่องมีอยู่ว่า ลูกค้าผม เป็นเจ้าของอพาร์ทเมนต์ ปรากฏว่า มีคนอยากได้เยอะมาก วันดีคืนดี มีนายทุนเข้ามาดูตึกวันละหลายๆเจ้า บอกตึกนี้โดนขายทอดตลาดแล้ว เข้ามาดูสภาพซะหน่อย ก่อนไปประมูล  ผมก็เอ เราไปยื่นเรื่องศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดไปนี่หว่า  เนื่องจาก ธนาคารมันร้องให้ขายแยกแปลง เราก็แย้งไปว่าให้ขายรวมแปลง เนื่องจากจะได้ราคาดี  เหตุใด เรื่องจึงตีตก กลับมากรมฯ เร็วจัง  ประกาศขายทอด ก็ยังไม่เห็นมี     แต่ทำไม นายทุน มันรู้วะ    เช็ดไปที่ เวปไซด์กรมฯ ก็ยังไม่ขึ้นนี่หว่า  โทรไปเช็คกับเจ้าหน้า่ืที่กรมบังคับคดี  มันบอกว่า  มีประกาศแล้ว เราก็เช็คมันไม่มีครับ  แล้วนายทุนมันรู้ก่อนได้ยังไง  ชักทะแม่งๆ นะเนี่ย 
 ปรากฏว่าอีกประมาณ สี่ห้าวัน บนเวปไซด์ กรมฯ มีอพารท์เมนต์ลูกค้าผมขึ้นมาละ ว่าขายวันนั้น วันนี้  แสดงว่า มีคนในบางคนมันรู้ก่อน แล้วเอา่ข้อมูลให้พวกนายทุน ก่อนใคร  ไม่ทันให้ลูกหนี้ตั้งตัว  ผมได้โทรคุยกับลูกค้าว่ามีประกาศมาปิดยัง  นี้มันเหลือเวลาไม่ถึง 15 วันนะก่อนขายทอด  มันยังไม่ปิดประกาศเลย เข้าทางเรา เป็นการปิดหมายโดยมิชอบแน่นอน  ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังไม่มีหมายมา  ปรากฏว่า บ่ายวันอาทิตย์  มีหมายมา ตามทะเบียนบ้านลูกค้า ซึ่งเป็นบ้านเก่าไม่มีคนอยู่มีหมายมาปิด  
วันรุ่งขึ้น ผมก็เข้าไปขอคัดการเดินหมาย ว่าถูกต้องหรือไม่ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า  มีการเซ็นต์รับหมายอย่างถูกต้อง  ผมก็เอ บ้านนี้มันไม่มีคนอยู่ คุณให้ใครเซ็นต์รับ  เอาให้แน่นะ ถ้ามั่วมา ผมเอาตายนะ เจ้าหน้าที่ยังยืนยันเสียงแข็ง  เรา ( ผม กับลูกหนี้ ) ก็รอลุ้นจนกว่าจะถึงวันขายทอด ปรากฏว่าอีกสองวันก่อนขาย ผมก็โทรไปขู่เจ้าหน้าที่อีก ว่าผมจะเอาทนายฟ้องกรมฯ ฐานะที่ทำงานพลาด เป็นการปิดหมายโดยมิชอบ  เจ้าหน้าที่ก็ยังเสียงแข็ง  แล้วผมก็บอกว่า  มีนายทุนรู้เรื่องการขายทอดตลาดตึกนี้ ก่อนขึ้นเวปไซด์ด้วย  รู้ก่อนได้ยังไง เจ้าหน้าที่ก็ยังยืนยันว่าจะต้องมีการขายทอดตลาดตามกำหนดเดิม  ก่อนกลับผมก็ออกลูกนักเลงหน่อยๆ ว่าเจอกันแน่ ผมเอาจริงนะ

ปรากฏว่า วันรุ่งขึ้น ก่อนขายทอดหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่โทรมาหาผมแจ้งว่า พี่ๆ ยกเลิกนะ เดินหมายโดยมิชอบ ปิดหมาย ไม่ถึง 15 วัน ก่อนขายทอด  และไม่เกิน 7 วัน ในกรณีมีผู้เซ็นต์รับเอกสาร เห้อโล่งอก ดีใจมาก ยังกับบ้านตัวเองยังงั้นละครับ

ที่เล่ามาซะยืดยาวนี่ก็ เพราะ อยากจะบอกว่า ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่บางท่าน กับ นายทุน ธนาคารเจ้าหนี้ มันรู้กัน  ทำให้ ลูกหนี้ ที่ไม่รู้ กลัวการต้องขึ้นโรงขึ้ศาล เสียเปรียบเพราะความไม่รู้  ต้องโดนยึดบ้าน รีบนำออกขายทอดตลาดแบบไม่ทันให้ลูกหนี้ตั้งตัว  เสียบ้านเสียช่อง เสียเครดิต หมดอนาคตกับไปหลายๆ ครอบครัว แถมบางรายโดนฟ้องล้มละลายต่ออีก เอากับมัน ไอ้ธนาคารหน้าเลือด 

ก็ถ้ายังไง  ใครมีปัญหาแบบนี้  สอบถามพูดคุยกันได้นะครับ ยินดีให้คำปรึกษาครับ 081 869 0878

โพสต์แนะนำ

ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ เทคนิค วิธีการ การ กู้เงิน ขอสินเชื่อ แก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับคนที่มีปัญหา กู้เงินซื้อบ้านไม่ผ่าน ขอสินเชื่อกับ ธนาคารไม่ผ่าน แบงก์ ไม่อนุมัติ หรือ ท่านที่มีปัญหาหนี้เสีย ภาระหนี้สินมากและยัง...

บทความที่น่าสนใจ