วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561

เครดิตสกอริ่ง ธนาคารเขาดู และให้คะแนนอย่างไร เราต้องรู้และทำประวัติเครดิตบูโรของเราให้ดี


ในการยื่นกู้บ้าน หรือขอสินเชื่อต่างๆ จากธนาคาร ธนาคารก็จะเช็คเครดิตบูโรของเรา และเอาประวัติ ข้อมูล รายละเอียดในเครดิตบูโร ไปประมวลผล และให้คะแนน เป็น เครดิตสกอริ่ง ที่ธนาคารชอบบอกว่า สกอร์ตก สกอร์ตก ก็คือ คำแนนของคุณมันต่ำ เรามาดูกันครับว่า ธนาคาร เขาให้คะแนนของเราจากอะไรบ้าง มาเตรียมตัว ทำคะแนนในเครดิตสกอริ่ง ของเราให้ได้คะแนนดีๆ กันนะครับ ข้อมูลเรื่องราว อยู่ในคลิปครับ เข้าไปฟังกันเลยครับ

สำหรับท่านที่ สนใจ อยากมีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ



วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

อาชีพอิสระฟรีแลนซ์ Freelance กู้ซื้อบ้าน ขอสินเชื่อธนาคารให้ผ่าน ต้องทำยังไง


อาชีพอิสระ หรือ Freelance คือ การไม่มีนายจ้างประจำ และก็ไม่มีรายได้ประจำแน่นอน ไม่มีสถานที่ทำงานแน่นอน รายได้ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างในช่วงนั้นๆ ว่า จะเยอะหรือจะน้อย คำว่าอาชีพอิสระนี้ สำหรับในบทความนี้ ผมอาจจะหมายถึง คนที่ขายแรงงาน หรือ ขายค่ามันสมอง หรือ ขายทักษะ หรือ ค่าวิชาชีพ หรือ อะไรก็ตาม ที่เป็นอาชีพที่สามารถหารายได้ ได้จากโลกออนไลน์ และออฟไลน์ 

ในปัจจุบัน กลุ่มผู้ที่ประกอบการอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์เหล่านี้ละ ที่เป็นปัญหาในการกู้ซื้อบ้าน ขอสินเชื่อบ้าน แล้วธนาคารไม่ค่อยจะอนุมัติให้ผ่านสักเท่าไร ทั้งๆ ที่กลุ่มคนเหล่านี้ จะเป็นอาชีพกลุ่มใหญ่ขึ้น และมากขึ้นในอนาคตแน่นอน ปัญหาที่คนเหล่านี้กู้ไม่ผ่าน เพราะอะไร ในบทความนี้ของผม จะมาอธิบายแนวทางในการเตรียมตัวกันให้พร้อม ก่อนที่จะไปยื่นกู้ซือบ้านครับ ทำตามนี้ได้ รับรองกู้ผ่านแน่นอน

1. คุณคือใคร ทำงานอะไร อาชีพของคุณทำยังไง คุณต้องอธิบายธนาคาร ให้เข้าใจให้ได้ ประเด็นนี้ สำคัญที่สุด  เพราะถ้าเขา เจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคาร ไม่เข้าใจ ในอาชีพ ลักษณะการทำงานของคุณ อันนี้โอกาสกู้ผ่าน อาจจะเป็น 0%  คุณต้องอธิบายให้เจ้าหน้าที่ธนาคาร รู้ว่า อาชีพคุณทำงานอย่างไร แล้วทำไมงานแบบนี้ ถึงต้องมาจ้างคุณ และมีอีกกี่คน มากไหม ที่ทำแบบคุณได้ แล้วทำไม เขาต้องมาจ้างคุณ คุณเก่งกว่าคนอื่นอย่างไร คุณมีทักษะพิเศษ หรือ คอนเนคชั่นพิเศษอะไร ถึงจะต้องมาจ้างคุณ  ทำให้ธนาคารเขาเข้าใจได้ว่า คุณเจ๋งแค่ไหน ในอาชีพของคุณ

2. รายได้ของคุณ เท่าไร มีรายได้มาจากไหนบ้าง ตรงนี้ ธนาคารจะสามารถดูได้จาก แหล่งข้อมูลหรือเอกสาร แค่ไม่กี่อย่าง เช่น
  • สเตทเมนท์ธนาคาร อันนี้ ผมแนะนำต้องแสดงการเดินบัญชี ให้ได้อย่างน้อย 2 ปี จะดีมาก เพื่อแสดงให้ธนาคาร ดูถึง การเงินของคุณ ว่ามีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอแบบนี้มานานกว่า 2 ปี แล้ว เพื่อให้ธนาคารมั่นใจว่า รายได้ของคุณมีความเสถียร แต่ถ้ารายได้ของใคร ที่มาเยอะกันแค่ในช่วงแค่ระยะเวลาก่อนยื่นกู้แค่ไม่กี่เดือน แบบนี้ กู้ผ่านยากครับ และในแง่ส่วนตัว ผมก็ขอแนะนำว่า หากใครเพิ่งมีรายได้ดีแค่ช่วงหลังๆ และคิดและมั่นใจว่า เเราเองมีรายได้ดี รายได้มากพอ สามารถกู้ซื้อบ้านได้แล้วนั้น ผมบอกเลยคุณคิดผิด ผมว่า ถ้าคุณมีรายได้ดี มานานและต่อเนื่องเกิน 2 ปี อันนี้ผมถือว่า คุณมีความพร้อมที่จะเป็นหนี้บ้านได้แล้วละครับ
  • เอกสารการรับเงิน ใบรับเงิน ใบหัก ณ ที่จ่าย ม.50 ทวิ ใบแสดงผลงาน โปรไฟล์งาน Portfolio ของคุณ เอกสารรายได้ ที่แสดงให้ธนาคารสามารถรู้และเข้าใจว่า เงินของคุณ ได้รับด้วยวิธีการ และเอกสารต่างๆ เหล่านี้  รูปถ่ายก็สำคัญครับ ถ้ามีถ่ายรูปการทำงานไว้ ขั้นตอนต่างๆ ถ่ายเก็บไว้ครับ จัดเตรียมเอกสารให้พร้อม เป็นระเบียบจัดเก็บรวบรวมเป็นรายเดือน สรุปเอกสารรายเดือนว่ามีรายได้ตามเอกสารเดือนละเท่าไร และที่ไม่มีเอกสารเดือนละเท่าไร
  • เอกสารการเสียภาษี ในจุดนี้ เอกสารการเสียภาษี คุณจำเป็นต้องมี ถ้าไม่มี กู้ผ่านยากครับ เนื่องจากในปัจจุบัน ธนาคารเน้นตรงเอกสารนี้มาก ถ้าสเตทเมนท์เดินเยอะ เอกสารประกอบรายได้มี แต่ไม่มีเอกสารการเสียภาษี ยังไงก็กู้ไม่ผ่านครับ ถ้ารายได้คุณมีการโดนหัก ณ ที่จ่ายไว้ คือเอกสาร ม.50 ทวิ ก็เอาเอกสารนี้ละครับไปนำส่ง แต่หาก ไม่มี ม.50 ทวิ ก็ไปแสดงรายได้ กับ สรรพากร ตามที่เราแจ้งครับ แจ้งให้มากหน่อยสัก 70% ของรายได้จริงของเรา ใกล้เคียงความเป็นจริง ยอมเสียภาษีดีกว่าครับ กู้ธนาคารผ่านแล้ว ค่อยว่ากัน ปีต่อๆ มาจะไม่เสียภาษีอันนี้ก็ไม่ว่ากันครับ
3. ประวัติเครดิตบูโร อันนี้ก็มีความสำคัญมากครับ ประวัติทางการเงินของคุณ สามารถบ่งบอกว่า ที่ผ่านมาคุณมีประวัติการชำระหนี้ เป็นอย่างไร ดี ไม่ดี อย่างไร เครดิตบูโร บอกหมดครับ ประเด็นเรื่องเครดิตบูโร ผมจะแนะนำแบบนี้ครับ
  • คนที่มีหนี้อยู่แล้ว เช่น มีหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อบุคคล หนี้บัตรผ่อนสินค้า หนี้ผ่อนรถ แนะนำว่าก่อนอื่นคือ อย่างน้อย 12 งวด ก่อนที่คุณจะกู้ซื้อบ้าน ห้ามคุณจ่ายช้าเลยสักงวดครับ คือ ในรอบหนึ่งปี ก่อนที่คุณจะกู้บ้าน ต้องจ่ายให้ตรงเป๊ะๆ และพยายามไม่ก่อหนี้เพิ่ม แต่กลับกัน คุณควรค่อยๆ ลดหนี้ลงเรื่อยๆ ให้เหลือน้อยที่สุด หรือ หมดหนี้เลยได้ ยิ่งดีมาก ก่อนที่คุณจะกู้บ้านนะครับ
  • สำหรับคนที่ไม่เคยมีหนี้เลย คือ ประวัติในเครดิตบูโร ใสสะอาด แบบนี้ก็ไม่ดีเหมือนกันนะครับ เพราะธนาคาร เขาจะไม่สามารถ รู้เลยว่า คุณมีประวัติในการชำระหนี้อย่างไร  ประเด็นนี้แก้ไขไม่ยากครับ แนะนำว่า ให้คุณไปลองสมัครบัตรผ่อนสินค้าอะไรก็ได้สักหนึ่งใบ หรือ สมัครบัตรเครดิตแบบ ใช้เงินฝากค้ำประกันก็ได้ครับ ถ้ากลัวสมัครบัตรเครดิตแล้วไม่ผ่าน แล้วก็ทำการใช้บัตรนั้นเลย หลังจากที่ได้รับการอนุมัติครับ ใช้ได้ครับ แต่อย่าเยอะ และควร ชำระหนี้แบบเต็มจำนวนด้วยนะครับ อย่างน้อยๆ 6 เดือน ก่อนที่คุณจะไปยื่นกู้ซื้อบ้านนะครับ แล้วอย่าสร้างภาระหนี้ให้มากนะครับ อย่าลืมว่า วัตถุประสงค์ในการทำบัตรของเราคือเพื่อให้ธนาคาร ได้เห็นประวัติทางการเงินของเรานะครับ คือ มีประวัติปรากฏขึ้นในเครดิตบุโร ไม่ให้ เครดิตบูโรใสสะอาด อย่าไปหลงประเด็นนะครับ
4. บัญชีเงินออม อันนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะอาชีพอิสระแบบพวกคุณ ธนาคารเขาจะมองว่า รายได้ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง ฉะนั้นคุณต้องแสดงให้เขาเห็นว่า คุณเป็นคนมีวินัยในการใช้เงิน และบริหารเงินเป็น ฉะนั้น คุณต้องมีการออมเงินให้กับ ธนาคารเขาเห็นครับ ออมให้สม่ำเสมอ ด้วยจำนวนเงินที่เท่าๆ กัน ทุกๆเดือน ไอ้ประเภทมาแบบทีเดียวตูมก้อนใหญ่ๆ แล้วหายเงียบไปเลย ผ่านมาอีกสองสามเดือนก็ถอนออกไป แบบนี้ ไม่ใช่การออมครับ คุณต้องมีการออมเงินมาอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 1  ปี ก่อนที่จะยื่นกู้ซื้อบ้านนะครับ

5. สุดท้าย คือ กระดาษ A4 เพียง 1 ใบครับ ที่คุณจะต้องเล่าเรื่องราว ตัวคุณเอง ธุรกิจของคุณ วิธีการทำงานยังไง การผลิต การตลาด การเก็บเงินแบบไหน คุณเจ๋งยังไง คือ เขียนให้ธนาคารเข้าใจได้ว่าคุณคือใคร คุณทำอะไร รายได้คุณมามายังไง มาเท่าไรต่อเดือน เล่าเรื่องราวของคุณให้ธนาคาร เข้าใจได้ ในกระดาษเพียง 1 หน้าเท่านั้น ที่เขาเรียกกันว่า Exclusive Summary นะครับ 

สุดท้ายนี้ ก็อย่างที่บอกในตอนต้นเรื่องนะครับ ว่า อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ กู้ซื้อบ้านยากมาก แต่ก็ มีหลายๆ คนที่ ทำได้ครับ เพราะ เขาเตรียมตัวมาดี การเตรียมตัวที่ดี จำเป็น ต้องใช้เวลาครับ ถ้าคุณไม่มีเวลา หรือ รอไม่ได้ ผมบอกเลย บทความนี้ ไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับคุณ ของให้ทุกท่านโชคดี กู้บ้าน ขอสินเชื่อ ธนาคารให้ผ่านกันทุกคนครับ


สำหรับท่านที่สนใจ ให้ผมเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เมื่อการกู้บ้าน ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร ไม่ค่อยผ่าน ถึงเวลาที่เจ้าของโครงการจะมาปล่อยกู้เองแล้ว


เนื่องจากภาวะในปัจจุบัน ผู้คนทั่วไปที่ต้องการมีบ้าน ไปดู ไปเลือกบ้านไว้ จอง ซื้อ แต่พอถึงเวลาต้องไปยื่นกู้ขอสินเชื่อบ้าน กลับกู้ไม่ผ่าน ล่าสุดตัวเลขอัตราการยื่นกู้ไม่ผ่าน หรือ Reject Rate  อยู่ไม่ต่ำว่า 50% เข้าไปแล้ว ทำให้ปัญหานี้ กระทบกับผู้ประกอบการ พวกดีเวลลอปเปอร์ โครงการบ้านจัดสรร เจ้าของโครงการคอนโด หรือเรียกง่ายๆว่า เจ้าของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ได้รับผลกระทบนี้เป็นอย่างมาก คือ ขายได้ แต่ลูกค้ากู้ไม่ผ่าน ก็โอนไม่ได้ นั่นเอง

ปัญหาและสาเหตุ มีหลายสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ กู้ไม่ผ่าน หลักๆ มี 3 สาเหตุ คือ 

1. ภาระหนี้สูง หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อบุคคล หนี้ผ่อนรถ สรุปคือหนี้บานเลยครับ
2. เคยมีประวัติชำระหนี้ไม่ตรง ประวัติในเครดิตบูโร ไม่ดี หรือ ที่ชอบเรียกกันติดปากว่า ติดเครดิตบูโร
3. อาชีพอิสระ Freelance อาชีพค้าขาย ออนไลน์ ซึ่งอาชีพในกลุ่มนี้ ปัจจุบัน มีคนประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และสามารถมีรายได้ ดูแล เลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ แต่ธนาคารยังใช้หลัก และกรอบในการอนุมัติสินเชื่อแบบเดิมๆ ซึ่งมองว่า อาชีพคนรับเงินเดือน ยังคงมีความมั่นคงในได้รายได้มากกว่า 

จากปัญหาดังกล่าว คร่าวๆ นี้ ทำให้ กลุ่มผู้ประกอบการ บริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้รวมกลุ่ม และมีการประชุม และได้สรุปข้อตกลงกัน ในการจัดตั้ง บริษัทขึ้นมา โดยแต่ละบริษัท จะถือหุ้นกระจายกันไป และทำการปล่อยกู้ให้กับ ลูกค้าที่มาซื้อบ้านในแต่ละโครงการ ที่เป็นสมาชิก ซึ่งในเชิงนิติกรรม ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะทำในรูปแบบการจำนอง หรือ การทำสัญญาเช่าซื้อ โดยหลังจากมีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าแล้ว ลูกค้าทำการผ่อนชำระหนี้ ไปอย่างน้อย 6-12 เดือน หากลูกค้ารายไหน มีประวัติการผ่อนหนี้ดี ก็จะทำการขายหนี้ ในส่วนนี้ ให้กับ บตท. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทำการซื้อหนี้ไปบริหารต่อ และ บตท. จะเอาสัญญาหนี้แต่ละรายนำเอาไปแปลงจากหนี้ เป็นตราสาร ขายในตลาดตราสารหนี้ ต่อไป

ในส่วนตัวของผม ผมมองว่า นี้มันคือ SubPrime ภาคประเทศไทยเลยนะ ซึ่ง อเมริการเคยหายนะมาจากนโยบายประมาณนี้มาแล้ว ในอนาคต หลักการหรือ แนวคิดนี้ จะสร้างประโยชน์ให้กับ ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย หรือ อาจจะสร้างความเสียหาย ให้กับ ภาคการเงินของประเทศไทย กันแน่ ยังไม่มีใครตอบได้ โดยโปรเจคนี้ ในส่วนขององค์กรที่เกี่ยวข้องกำลังประชุมเพื่อผลักดัน ให้เป็นมาตรการออกมาใช้ให้ได้ ในปี 2561 นี้ ลองดูกันต่อไปครับว่า จะหมู่ หรือ จ่า 

สำหรับท่านที่สนใจ มีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกครับ


วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กลุ่ม GenY ต้นเหตุ สร้างหนี้เสีย ในภาคอสังหาริมทรัพย์


หนี้เสีย NPL เห็นเขาว่ากันว่า ปีหน้า หนี้เสียอสังหาริมทรัพย์ มาแรง มาแน่นะครับ หนี้เสียภาคอสังริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น ธปท.คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจาก ทั้งธนาคาร และเจ้าของโครงการร่วมกันจัดโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถมกระหน่ำกันอย่างโครมครามนะครับ

เครดิตบูโรเผยหนี้เน่ากว่า 1.1 แสนราย ส่วนใหญ่เกิดมาจาก ลูกค้ากลุ่ม GenY อายุเฉลี่ย 25-37 ปี กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เพิ่งเริ่มสร้างหนี้ในการผ่อนบ้าน

ปัจจุบันนี้ มีนิยามใหม่ของหนี้ เรียกว่า หนี้แฝด คือ หนี้แรกคือ หนี้ NPL ที่เรียกว่าเป็นหนี้เสีย เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน และหนี้อีกตัวคือ SM ( Special Mention Loan ) เป็นหนี้ค้างชำระ ตั้งแต่ 30-90 วัน แต่ยังไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย ถึงขั้นยกเลิกสัญญา ( หนี้เสีย NPL ) ส่วนใหญ่หนี้ในกลุ่ม SM นี้ ถ้าในสถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารจะสามารถควบคุม และสามารถดึงลูกค้ากลุ่ม SM นี้ ให้กลับมาเป็นลูกค้าที่ชำระหนี้เป็นปกติได้ จากการเจรจากันระหว่าง ธนาคาร กับลูกหนี้ และหนี้ SM นี้ จะขึ้นๆ ลง ..........แต่ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 เป็นต้นมา หนี้ SM มีการเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่า ปีหน้า 2561 หนี้ในส่วนนี้ น่าจะเปลี่ยนสถานะให้แย่ลงกลายเป็นหนี้เสีย NPL ในที่สุด 

ในปีหน้าคาดว่า จะเป็นอีกปีที่ภาคธนาคาร จะต้องเผชิญกับ หนี้เสีย NPL และหนี้เริ่มจะเสีย SM หนี้คู่แฝด 2 ตัวนี้ คงจะตามหลอกหลอนธนาคารหลายๆ แห่ง ไปทั้งปี 2561 แน่ ขอให้ สถาบันการเงินโชคดีละกันครับ

สำหรับที่สนใจ อยากมีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ


วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธี เตรียมตัวรีไฟแนนซ์บ้าน ให้ผ่าน ต้องทำยังไงบ้าง


การเตรียมตัว เพื่อจะรีไฟแนนซ์บ้าน หลักการ และแนวทาง ในการเตรียมตัว เตรียมเอกสารควรต้องทำอย่างไรบ้าง และในกรณีไหนบ้าง ที่จะทำให้ รีไฟแนนซ์บ้านไม่ผ่าน ลองฟังคลิปนี้ดูครับ

สนใจ มีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

โพสต์แนะนำ

ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ เทคนิค วิธีการ การ กู้เงิน ขอสินเชื่อ แก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับคนที่มีปัญหา กู้เงินซื้อบ้านไม่ผ่าน ขอสินเชื่อกับ ธนาคารไม่ผ่าน แบงก์ ไม่อนุมัติ หรือ ท่านที่มีปัญหาหนี้เสีย ภาระหนี้สินมากและยัง...

บทความที่น่าสนใจ