วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

หลักเกณฑ์ประมูลบ้านกรมบังคับคดี


จากในหลายๆ ครั้งที่ผมเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดี ส่วนใหญ่เนื้อหาสาระจะเป็นแง่คิดและมุมมองในส่วนของลูกหนี้ หรือ ผู้ที่ถูกเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ในบทความนี้ ผมจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์การประมูลบ้านกรมบังคับคดี ในส่วนของนักลงทุน หรือผู้ที่สนใจจะประมูลซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีกันนะครับ

หลักเกณ์การประมูลบ้านกรมบังคับคดี รายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ ผมขอไม่กล่าวถึงนะครับ จะให้ข้อมูลในส่วนของหัวข้อหลัก ดังนี้
  • การวางเงินเพื่อประมูลทรัพย์ สามารถใช้ได้ทั้ง เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็ค สั่งจ่าย "กองคลัง กรมบังคับคดี"
    • ราคาประเมิน     ไม่เกิน 500,000 บาท                วางเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 
    • ราคาประเมิน เกิน 500,000 - 1,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 50,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 1,000,000 - 5,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 250,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 5,000,000 - 10,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 10,000,000 - 20,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 20,000,000 - 50,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท
    • ราคาประเมิน เกิน 50 - 100 ล้านบาท วางเงินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
    • ราคาประเมิน เกิน 200 ล้านบาท วางเงินตามที่เจ้าพนักงานกำหนด
  • ราคาตั้งในการประมูล
    • ครั้งที่ 1 ราคาตั้งประมูล 100% ของราคาประเมิน
    • ครั้งที่ 2 ราคาตั้งประมูล 90% ของราคาประเมิน
    • ครั้งที่ 3 ราคาตั้งประมูล 80% ของราคาประเมิน
    • ครั้งที่ 4 ราคาตั้งประมูล 70% ของราคาประเมิน
    • และประมูลครั้งต่อๆ ไป จะไม่ต่ำกว่า 70% ของราคาประเมิน
  • หากทรัพย์ ที่มีคนมาประมูลซื้อได้ แล้วทิ้ง คือ ไม่มาโอนและชำระเงิน ภายในระยะเวลาที่กำหนดจะนำทรัพย์ดังกล่าวออกมาประมูลใหม่ โดยขั้นในการวางเงินจะมากกว่าเดิม 2 เท่า 
  • ใครที่เข้ามาประมูลแล้วไม่สามารถประมูลได้ จะได้เงินหรือแคชเชียร์เช็คคืนทันทีภายในวันประมูล
  • ผู้ซื้อได้ จะต้องชำระเงินค่าทรัพย์ที่ประมูลได้ ภายใน 15 วัน  แต่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 90 วัน แต่ในการยื่นคำร้อง ต้องยื่นก่อนครบกำหนด 15 วัน กรณีที่ใช้ชื่อใครในการประมูล เวลาขั้นตอนการโอน จะต้องโอนซื้อขายให้กับบุคคล คนนั้นเท่านั้น เว้นแต่จะขอใส่ชื่อร่วมตั้งแต่แรกในการประมูล หากผู้ประมูล จำเป็นต้องกู้เงินสินเชื่อจากธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน ควรทำเรื่อง Pre Approved ก่อน
  • ในกรณีที่ ประมูลซื้อทรัพย์นั้นได้แล้ว ลูกหนี้ หรือ บริวาร ไม่ยอมออกจากทรัพย์ ผู้ซื้อสามารถยื่นคำขอต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ เพื่อขอให้ศาลออกคำบังคับให้ลูกหนี้ หรือ บริวาร ออกจากทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องไปฟ้องขับไล่ลูกหนี้หรือบริวารเป็นคดีใหม่อีก หากยังไม่ออก ขอให้ศาลออกหมายบังคับเพื่อให้เจ้าพนักงานไปทำการขับไล่ลูกหนี้ และบริวารให้ได้
  • กรณีที่ผู้ประมูลทิ้งมัดจำ หากขายใหม่ได้ราคาน้อยลงกว่าเดิม ผู้ทิ้งเงินมัดจำต้องรับผิดชอบส่วนต่างราคา และค่าใช้จ่ายในการประมูลด้วย
  • แต่หากผู้ที่ทิ้งมัดจำแล้วกลับมาประมูลใหม่ จะต้องเพิ่มเงินมัดจำ 2 เท่า และหากมาประมูลใหม่ และประมูลได้ จะขอขยายระยะเวลาการโอนออกไป จะต้องวางเงินเพิ่มเท่าไร ขึ้นอยู่กับเจ้าพนักงานเป็นผู้กำหนด


ที่ผมสรุปมาทั้งหมดนี้ เป็นข้อหลักเกณฑ์ หลักๆ ในการที่นักลงทุน ที่สนใจจะลงทุน ซื้อบ้าน คอนโด ที่ดิน จากกรมบังคับคดี ครับ บทความของผมนี้ หวังว่า จะเป็นปนะโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ ขอบคุณครับ สำหรับเพื่อนๆ นักลงทุน ผู้รักการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงิน ติดต่อผมได้ครับ โดย คลิกที่นี่  ครับ

โพสต์แนะนำ

ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ เทคนิค วิธีการ การ กู้เงิน ขอสินเชื่อ แก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับคนที่มีปัญหา กู้เงินซื้อบ้านไม่ผ่าน ขอสินเชื่อกับ ธนาคารไม่ผ่าน แบงก์ ไม่อนุมัติ หรือ ท่านที่มีปัญหาหนี้เสีย ภาระหนี้สินมากและยัง...

บทความที่น่าสนใจ