วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

ถ้าคิดจะเก็บเงินไว้กินตอนแก่ จะซื้อประกัน หรือกู้เงินซื้อบ้านดี?


จากหัวข้อเรื่อง เพื่อนๆ บางคนอาจจะงง เก็บเงินโดยการซื้อประกัน กับ เก็บเงินแบบกู้ซื้อบ้าน มันเอามาเปรียบเทียบกันได้ยังไง คือ อีกอันคือเก็บเงินออม อีกอันคือเป็นหนี้ มาๆ ครับ ผมจะอธิบายให้ฟังครับ

เริ่มเลยครับ การเก็บเงินออม แบบซื้อประกัน ไม่ว่าจะเป็น การประกันแบบออมทรัพย์ ประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต อะไรก็ตาม ผมขอจะไม่ลงไปในรายละเอียดนะครับ แต่หลักการคือ คุณต้องลงเงินออมเป็นรายเดือน รายปี เท่าไรก็ได้ ตามที่เขากำหนด พอครบกำหนด สมมติแบบมีประกันชีวิตพ่วงด้วย ถ้าคุณไม่ตายซะก่อน ก่อนครบกำหนด คุณก็จะได้เงินหรือผลตอบแทน ตามที่บริษัทประกัน เขากำหนดไว้ตั้งแต่แรก อันนี้ พอเข้าใจกันใช่ไหมครับ สรุปก่อนนะครับ ประเด็น คือ คุณต้องเก็บออมรายเดือน หากจ่ายเป็นรายปี คุณก็ต้องเก็บออมเหมือนกัน คือรวบรวมเป็นเดือนเพื่อสะสมเป็นปี โอเค อันนี้เข้าใจตรงกันแล้วนะครับ คือเราต้องเก็บออมเงินรายเดือน อะๆๆๆ ต่อมา 

แล้วการกู้เงินซื้อบ้านละ สมมตินะครับ ผมไม่ขอลงไปในรายละเอียดวิธีการกู้นะครับ อันนั้น หาอ่านเอาใน blog ของผมได้ครับ สรุปคือ ธนาคารเขาจะอนุมัติเงินกู้ซื้อบ้านของคุณ ตามรายได้ และความสามารถผ่อนชำระหนี้ ใช่ไหมครับ สมมติคุณกู้มาได้ละ เอาเป็นบ้านราคา 1,500,000 บาท ละกัน คุณต้องผ่อนเดือนละ 10,000 บาท เงินเดือนคุณตามมาตรฐาน ก็ต้องไม่น้อยกว่า 25,000 บาท สมมติ คุณเงินเดือน 3x,xxx กว่า ละกัน ผ่อนรถคัน มีบัตรเครดิตสักสองใบ ตายละ ต้องผ่อนบ้านอีกเดือนละ 10,000 บาท ตายแน่ แค่ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต ฉันก็ไม่เหลือเงินเก็บแล้ว อ้อลืมบอกไป ตอนนี้ส่วนใหญ่ ในการกู้ซื้อบ้าน ธนาคารเขาจะบังคับให้คุณทำประกันชีวิต หากในช่วงระยะเวลาที่คุณผ่อนบ้านอยู่เกิดเสียชีวิต บริษัทประกัน เขาชำระหนี้ทั้งหมดให้คุณเลย ลูกหลานก็สบายไม่ต้องมาผ่อนบ้านแทน


ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบกันดูครับ ว่า การเก็บเงินซื้อประกัน กับการกู้เงินแล้วผ่อนบ้าน แบบไหนจะดีกว่ากัน  เริ่มเลย สมมติหลักการของประกัน คือ คุณต้องจ่ายค่าเบี้ยทุกเดือน เดือนละเท่าไรก็ว่ากันไป เงื่อนไขคือ คุณ จ่ายไปครบตามกำหนดเขา สมมติระหว่างจ่ายคุณไม่เสียชีวิต เอาเป็นตัวเลขดีกว่า สมมติคุณจ่ายเบี้ยเดือนละ 10,000 บาท ไปอีก 6 ปี พอจ่ายครบ และรอไปอีกจนครบ 15 ปี คุณจะได้เงินคืนประมาณ 8xx,xxx บาท อ่า อันนี้พอเข้าใจนะครับ หลักการที่ผมอยากให้คุณได้คิดตามคือ หลักการที่จ่ายเป็นเบี้ยหัวแตก แต่ได้เงินก้อนจำนวนหนึ่งที่รู้แน่นอนว่าได้เท่าไร เน้นนะครับ รู้แน่นอนว่าได้เท่าไร ในตอนจบ อันนี้มีภาพประกอบ จากตารางการจ่ายเบี้ยประกันออมทรัพย์ ครับ

จ่ายเบี้ย 6 ปี จำนวน 612,000 ได้เงินคืน ปีที่ 15 จำนวน 771,000 ลองคำนวณดูครับ

แต่การกู้ซื้อบ้าน ผมยึดตัวเลขเดียวกันครับ สมมติคุณซื้อบ้านมาหนึ่งหลัง เป็นทาวน์เฮาส์ละกัน ราคา 1.5 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 10,000 บาท แบงก์บังคับประกันชีวิตคุ้มครองเงินกู้ด้วย หากตาย บริษัทก็ใช้หนี้แทน อันนี้ประเด็นปลีกย่อยผ่านไปก่อน คุณก็ผ่อนไปเรื่อยๆ ผ่อนไปบ่นไป เงินเก็บก็แทบจะไม่เหลือ ผ่อนบ้าน ค่าเทอมลูก ค่าบัตรเครดิต เอ้า ผ่อนไปครับ ไม่ต้องบ่น ผ่านมา สัก 5 ปี เออ หน้าที่การงานดีขึ้น เงินเดือนเยอะขึ้น แต่ๆๆๆ ค่างวดบ้านเรายังเท่าเดิมนี่หว่า สบายขึ้นนะ เอ้า ผ่อนต่อ ผ่อนงวดละ 10,000 บาท ผ่านมาอีกสักสิบปี เงินเดือนเยอะขึ้น เริ่มมีเงินเก็บบ้างแล้ว แต่ไม่เยอะ เอาเงินมาปรับปรุงบ้านสักหน่อย สองสามแสน ก็ขอกู้มาต่อเติมบ้าน ผ่อนไปผ่อนมา เฮ้ย จะสิบห้าปีแล้วเหรอ หนี้ที่เรากู้มา 1.5 ล้านบาท ตอนนี้ หนี้เงินต้นมันเหลือไม่ถึง 500,000 แล้วเว้ย จะเป็นอิสระจากหนี้แล้วเว้ย อารมณ์ดี ขับรถออกจากบ้านไปกินข้าว บังเอิญเห็นป้ายขายบ้าน บ้านแถวนั้น เขาประกาศขาย ลองโทรไปถามซิ เขาขายเท่าไร พอได้ฟังเท่านั้นละ แทบเป็นลม เขาตั้งราคาขายไว้ 3.2 ล้านบาท แถบป้าที่ประกษสขายบ้านแกบอกว่า บ้านข้างๆขายไปเมื่อปีที่แล้ว ที่ราคา สามล้าน แม่เจ้า แล้วเมื่อเราผ่อนบ้านหมด บ้านเราจะราคาเท่าไรเนี่ย !!!!!!!!

ครับ อ่านมาถึงตรงนี้ พอจะสรุปง่ายๆ ให้เข้าใจนะครับ คือ 
  1. ซื้อประกัน คุณจะรู้แน่นอน ว่าบั้นปลาย จะได้เงินเท่าไร จากเงินที่คุณเก็บออมมา ในกรมธรรม์นั้น
  2. การกู้เงินซื้อบ้าน คุณก็ผ่อนไปเรื่อยๆ เหมือนจ่ายเบี้ยแหละ แต่คุณไม่รู้ว่า ราคาบ้าน มันจะไปไกลแค่ไหน แบบนี้ พอจะคิดอะไรออกกันบ้างแล้วไหมละครับ ว่า การกู้เงินซื้อบ้าน มันดียังไง บ้านก็มีอยู่ เงินงวดที่ผ่อน ก็เงินนี้ละคือเงินเก็บของคุณ

มาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ ก็คงรู้แล้วซินะครับ ว่า การกู้เงินซื้อบ้าน ขอสินเชื่อบ้าน แล้วเราต้องเป็นหนี้แบงก์ มันไม่ได้น่ากลัวอะไรเลยครับ มาๆ มาเป็นหนี้บ้านกันเถอะครับ

และหากท่านที่ประสบปัญหา กับการกู้เงินซื้อบ้าน ขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่าน ธนาคาร ไม่อนุมัติ ลองไลน์มาคุยกันครับ ตอบได้ จะตอบให้ทุกข้อความนะครับ LineID: @antonio 



วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

การซื้อขายบ้าน ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษี เขาคิดกันยังไง และใครต้องจ่าย

คำถามนี้เป็นคำถามสำคัญจริงๆ และเป็นคำถามที่คนขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด อยากที่จะรู้ครับ ว่า เวลาเราขายบ้าน ค่าโอน ค่าภาษี ค่านู่นนี่นั่น มันเท่าไร เพราะมันเป็นต้นทุนในการขายอสังหาริมทรัพย์ของท่านนะครับ

บทความนี้ ผมจะมาไขความกระจ่างให้กับเพื่อนๆ ครับ แต่เวลาเราคำนวณออกมาแล้ว เอากันจริงๆ จำนวนตัวเลขมันอาจจะไม่เท่ากับ วันที่ต้องไปเสียจริงที่กรมที่ดิน เอาแค่เป็นไกด์ไลน์พอได้ครับ ทำไมนะเหรอ ผมเองเป็นนายหน้าขายบ้านด้วย ขนาดก่อนโอนสองวันเอาเอกสารของผู้ซื้อผู้ขายเบื้องต้นไปให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดู เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก่อน ได้มาตัวเลขนึง พอวันไปโอนจริงกลายเป็นอีกตัวเลขนึง เอาเป็นว่า เรื่องแบบนี้ไม่ต้องอธิบายละกันครับ บางทีเรื่องเจ้าหน้าที่ที่ดินบางคน ย้ำว่าบางคนนะครับ ที่มีพฤติกรรมแบบนี้ หาเรื่องตีกินนะครับ

เข้าเรื่องดีกว่า มาเริ่มกันตั้งแต่แรกเลยครับ สมมติว่า ตกลงราคากันได้แล้ว ก็มาถึงว่า ค่าโอนค่าภาษี คนซื้อหรือคนขาย ใครจะเป็นคนจ่าย ข้อนี้มันไม่มีกฏตายตัวว่าใครต้องจ่าย มันขึ้นอยู่กับ การตกลงของผู้ซื้อกับผู้ขายเอง ปัญหาที่ผมเห็นตกลงกันไม่ได้ และทะเลาะกันทุกรายคือ ชอบตกลงกันว่า ค่าโอนจ่ายกันคนละครึ่ง พอถึงเวลาจริงๆ มันมีหลายค่าครับ ค่าโอน ค่าภาษี ค่าอากร ฯลฯ ทะเลาะกันทุกราย คนซื้อบอกก็ค่าโอนคนละครึ่งไง ภาษีเกี่ยวอะไรกับเราละ คนขายก็ว่า ค่าโอนหมายถึงทุกค่ารวมกัน แล้วหารสอง..... ปัญหาแบบนี้มีจริงๆ นะครับ แล้วเยอะด้วย จริงๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับการตกลงกัน ส่วนใหญ่ถ้ามีการซื้อขายผ่านนายหน้า ปัญหานี้จะถูกตกลงกันแล้วตั้งแต่ต้นครับ ว่า ใครออกค่าอะไร ใครจ่ายค่าอะไร

ต่อมา แล้วมันมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างละ ครับเริ่มเลย 
  1. ค่าธรรมเนียบมการโอน คิดที่อัตรา 2% ส่วนใหญ่เขาจะคิดที่ 2% ของราคาประเมินราชการ ( กรมธนารักษ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง )
      2. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดที่อัตรา 3.3% ของราคาซื้อขาย มีข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียคือ
             2.1 คุณถือครองทรัพย์สินมาเกิน 5 ปี
         2.2 คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้น จะเป็นผู้อาศัย หรือเป็นเจ้าบ้านก็ได้ มานานเกิน 1 ปี นับย้อนหลังไปจากวันขาย
      
      3. ค่าอากรสแตมป์ คิดร้อยละ 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ถ้าคุณเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว อันนี้ไม่ต้องเสีย แต่ถ้าคุณไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คุณต้องเสียครับ
    4. ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา อันนี้ จริงๆ แล้ว ผู้ขายจะต้องเป็นคนเสีย แต่อย่างที่บอกละครับว่า แล้วแต่จะตกลงกันครับ อันนี้ จะเสียยังไง ต้องมาดูรายละเอียดต่อไปครับ

ผมจะเริ่มอธิบาย ที่ซับซ้อนหน่อย เรื่องค่าธรรมเนีบมการโอนนะครับ คิดที่ 2% ของราคาประเมินของกรมธนารักษ์ แล้วราคานี้เราจะรู้ได้อย่างไร

  • ราคาประเมินที่ดิน หาได้จาก คลิกที่นี่ครับ กรอกรายละเอียดข้อมูลของโฉนดที่ดินของเราลงไปครับ 
  • ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง อันนี้ ผมแนะนำว่า ให้คิดคร่าวๆ เอาเองก็ได้ โดยให้หักค่าเสื่อม ปีละ 2% อันนี้คุณก็ประมาณเอาละกันว่า ราคาสิ่งปลูกสร้างมันจะเท่าไร เช่น คุณประมาณว่าตึกนี้ค่าก่อสร้างประมาณ 1.0 ล้านบาท และสร้างมาแล้ว 10 ปี มูลค่าตอนนี้มันหลังจากหักค่าเสื่อมแล้วเหลือ 80% ก็ 800,000 บาท ครับ 
  • แล้วก็เอาราคาที่ดิน กับ ราคาสิ่งปลูกสร้างรวมกัน แล้วคูณด้วย 2% ก็จะได้ค่าธรรมเนียมการโอนที่คุณจะต้องจ่ายไงครับ
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% อันนี้คิดที่ราคาซื้อขาย วันไปโอน เจ้าหน้าที่เขาจะถามว่าคุณซื้อขายเท่าไร สมมติราคาประเมินกรมธนารักษ์ มันแค่ 1.0 ล้านบาท แต่คุณซื้อขายกันจริง 1.5 ล้านบาท ถ้าคุณอยากประหยัดตรงนี้ คุณก็บอกเจ้าหน้าที่ไปว่า คุณซื้อขาย 1.0 ล้านบาท คุณก็เสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่ 33,000 บาท แทนที่จะเสีย 1.5 ล้านบาท x 3.3%  เท่ากับ 45,000 บาท ประหยัดเงินไป 12,000 บาท แต่ แต่ แต่ วิธีนี้ใช้ไม่ได้ หากผู้ซื้อของคุณกู้เงินธนาคาร เพราะเจ้าหน้าที่ ที่ดิน จะของดูเช็คที่สั่งจ่ายของธนาคาร ว่าทำเช็คให้คุณเท่าไร และหนังสือสัญญาจำนองเท่าไร หากคุณกู้เต็มที่ 1.5 ล้านบาท สัญญาจำนองก็ 1.5 ล้านบาท แบบนี้ คุณไปหลอกเจ้าหน้าที่ ที่ดินไม่ได้ครับ เขาจะยึดที่ราคา 1.5 ล้านบาท ทันที แต่ยังไงก็ตาม หากคุณถือครอง เกิน 5 ปี หรือ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น เข้าเงื่อนไข ภาษีธุรกิจเฉพาะอันนี้ ก็ไม่ต้องเสียครับ

ผมข้ามมาอธิบาย การเสียภาษีบุคคลธรรมดาเวลาขายบ้าน กันเลยนะครับ อันนี้สลับซับซ้อนหน่อย

สมมติ ราคาขายที่คุณจะต้องบอกเจ้าหน้าที่ ว่า ซื้อขายเท่าไร ระหว่าง ผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งเขาเรียกว่าการให้ปากคำ ต่อเจ้าพนักงาน ฟังดูแล้วน่ากลัวนะครับ เช่น ถ้าเราบอกว่า ซื้อขายที่ ราคา 1.0 ล้านบาท

แล้วสมมติ ถือครองมา 6 ปี ละกัน เท่ากับว่า เงินส่วนต่างที่คุณจะต้องเสีย คือ 400,000 บาท ดูตามตารางเลยนะครับ คือ ต้นทุน 60% ของ 1.0 ล้านบาท เท่ากับ 600,000 เอา 600,000 ไปลบ 1,000,000 บาท เหลือ 400,000 บาท 

เอาตัวเลข 400,000 บาท ตั้งไว้นะครับ ทีนี่ มาดูว่า คุณถือครองมาแล้ว 6 ปี นะ ให้เอา 6  ไปหาร 400,000 บาท ครับ เท่ากับ 66,667 บาท ได้ตัวเลขที่จะคำนวณภาษีละครับ ....ทีนี้มาดูตารางต่อไป 


จำนวน เงินของคุณ 66,667 ตกเรทการเสียภาษี ที่ 5% เท่ากับ 3,333 บาท ครับ ยังไม่จบ เมื่อกี้ ถือครองมา 6 ปี คุณก็เอา 6 คูณ 3,333 เท่ากับ 19,999.98 บาท คือภาษีรายได้ที่คุณจะต้องเสียครับ
อธิบายเพิ่มเติมนิดนึง หากส่วนต่างที่คุณจะต้องเสีย เท่ากับ 120,000 บาท อันนี้เป็นอีกตัวอย่างแล้วนะครับ เท่ากับ ว่า

จำนวน 100,000 เสียภาษี 5% เท่ากับ 5,000 บาท
จำนวน 20,000 เสียภาษี 10% เท่ากับ 2,000 บาท

ประมาณนี้เป็นต้น ครับ

สุดท้าย แต่ละค่า เป็นเงินเท่าไร ก็เอามารวมกัน นั้นละครับ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่คุณจะต้องเสีย ในวันที่จะต้องมีการซื้อขายกันที่กรมที่ดินครับ อ้อ มีอีกค่า คือ ค่าจดจำนอง อันนี้คิดที่ 1% ของวงเงินกู้ ซึ่งในส่วนนี้ ผู้ซื้อจะต้องจ่าย ในวันนั้นด้วยครับ หากมีการกู้เงินธนาคาร 

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากท่าน มีตัวเลขคร่าวๆ อยู่แล้ว ก็จะได้คำนวณ และเตรียมเงินไปได้ถูกต้อง แต่ก็ อย่าคาดหวังว่าจะคำนวณถูกร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ เพราะบางที่เจ้าหน้าที่เขาก็อาจจะคำนวณผิดเพี้ยนไปจากเราบ้างครับ  หรือ ที่สาธยายมาซะยืดยาว หากขี้เกียจมานั่งคำนวณ กดที่นี่เลยครับ คลิกซิครับ ง่ายกว่าคำนวณแบบที่ผมเอาแบ่งปันตั้งเยอะ ...สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

ขายที่ดินเปล่า 1 ไร่ 52 ตรว. เขาพระตำหนัก พัทยา





ขายที่ดินเปล่าแปลงสวย เขาพระตำหนัก พัทยา ชลบุรี

เนื้อที่ 1 ไร่ 52 ตารางวา ที่ดินเป็นเนินเขาสูง มองเห็น วิวทะเล

ตั้งอยู่หัวมุมถนนเมน แปลงไม่ใหญ่ไม่เล็ก เหมาะสำหรับทำโครงการจัดสรร คอนโด

เสนอขาย 120 ล้านบาท

สนใจติดต่อ 081 869 0878  

LineID : @antonio 

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

เครดิตบูโร เป็นแพะตลอดกาล หากคุณ กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน ธนาคารบอกติดเครดิตบูโร


ท่านที่ประสบปัญหา กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน ธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ บอกท่านติดแบล็คลิส ติดเครดิตบูโร เลยทำให้กู้ไม่ผ่าน ผู้คนทั่วไป ก็พาลเกลียดหน่วยงาน ที่เรียกว่า เครดิตบูโร ไปด้วย คิดว่าเป็นตัวการ ทำให้ธนาคาร ไม่อนุมัติสินเชื่อกู้ซื้อบ้านให้กับท่าน

ความเป็นจริงคือ หลักการในการอนุมัติสินเชื่อของท่าน มันมีปัจจัยหลายอย่างมากมาย ในการที่ธนาคารเขาจะนำมาพิจารณา เช่น รายได้ เหมาะสมกับ วงเงินที่จะกู้ไหม เอกสารทางการเงินสามารถอ้างอิงชัดเจนไหม การเดินบัญชีธนาคาร หรือ สเตทเมนท์สม่ำเสมอไหม อันนี้กรณีธุรกิจส่วนตัว หรืออาชีพที่ทำอยู่ หรือ เป็นพนักงานบริษัท กินเงินเดือน ธุรกิจที่ท่านเป็นลูกจ้างอยู่ ธุรกิจนั้นดูท่าทางจะไปรอดไหม รวมไปถึงแม้กระทั่ง ตัวบริษัท ที่ท่านทำงานอยู่ด้วย บางที ธนาคารเขาอาจจะไม่ให้เพราะตรงนี้ก็ได้ คือ ดูแล้ว บริษัทไม่มั่นคง อะไรแบบนี้เป็นต้น อย่างที่กล่าวมา คือ มันมีเหตุปัจจัยต่างๆ มากมาย ที่ทำให้ ธนาคารไม่อนุมัติเงินกู้ เพื่อซื้อบ้านให้กับท่าน

เครดิตบูโร เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมา เพื่อ เก็บรวบรวมประวัติข้อมูลของการผ่อนชำระหนี้ของท่าน คือ สรุปนะครับ เป็นเพียงหน่วยงานที่เก็บรวมรวมข้อมูลการผ่อนของท่าน ตามที่ธนาคารเจ้าหนี้ของท่านส่งมาเพื่อบันทึกเก็บไว้เป็นข้อมูล เครดิตบูโร ไม่ได้ทำเอกสารขึ้นมาเอง ธนาคารส่งข้อมูลมายังไง ก็เก็บแบบนั้น 

แต่ด้วยเหตุผลที่ ธนาคารไม่อนุมัติ คือ เมื่อท่านลงนามอนุญาติให้เขาเข้ามาเช็คข้อมูลในเครดิตบูโร เพื่อจะพิจารณาสินเชื่อ เวลาที่ท่านจะขอกู้ ธนาคารเขาก็จะขอดูรายงานทั้งหมด ที่ท่านเป็นหนี้จากเครดิตบูโร สมมตินะครับว่า ท่านไม่เคยเป็นหนี้เสีย แต่ท่าน จ่ายช้าบ้าง เช่น ผ่อนรถ จ่าย เลทไป 10-15 วัน บางเดือน จ่ายค่อมเดือน หรือ สองเดือน จ่าย เดือนนึง สามเดือน จ่าย สองเดือน บ้าง  ผ่อนบัตรเครดิต ให้ จ่าย ทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน ท่านไปจ่าย ทุกสิ้นเดือนตลอด มันก็จ่ายช้าไป สิบกว่าวัน ท่านบอก เงินเดือนยังไม่ออก เงินเดือนออกก็ไปจ่าย ...... ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ เป็นการจ่ายชำระของคนส่วนใหญ่จริงๆ เท่าทีผมผ่านตามา 

ทีนี้ ผมจะให้ท่านลองมองในมุมมองของธนาคารบ้างนะครับ ถ้าท่าน จ่ายงวดรถ ยังไม่ตรงเลย แล้วผ่อนบ้าน ราคาเป็นล้านๆ จะมีปัญญาไหม? .....จ่าย บัตรเครดิต ยังเลทเป็นสิบๆ วันเลย แถมมีการกดเงินสดจากบัตรไปใช้อีก แบบนี้ จะมีปัญญาผ่อนบ้านไหม? .....ค่างวด สินเชื่อเงินสด จ่ายตรงบ้างไม่ตรงบ้าง จ่ายแล้ว ก็กดเงินออกไปใช้ใหม่ เงินต้นไม่เคยลดเลย แบบนี้ ให้กู้บ้านไปเป็นล้านๆ จะมีปัญญาผ่อนไหม? 

อะ มาถึงตรงนี้ ผมถามท่านนะครับ ท่านว่า เดือนๆนึง จะมีคนขอยื่นกู้ แต่ละธนาคารเยอะไหมครับ.. อะคิดครับ  คำตอบคือเยอะ  แล้วถ้าสมมติ มีลูกค้ามายื่นกู้สักสิบคน เป็นแบบที่ผมว่า 5 คน และอีก 5 คน ไม่เป็นแบบที่ผมยกตัวอย่างมา แต่แบบว่า จ่ายตรง เป๊ะๆๆๆๆ เป็นหนี้บัตร ก็จ่ายตรง คำถามตัวโตๆๆ ถ้าท่านเป็นธนาคาร ท่านจะอนุมัติเงินกู้ให้กับ คนกลุ่มไหนครับ ผมว่า ท่านคงตอบได้ง่ายเลยนะครับ 

ทีนี้ ปัญหาที่ว่า เครดิตบูโร เป็นแพะรับบาปยังไง บางที ไอ้เจ้าหน้าที่ ธนาคาร ตามสาขา เด็กจบใหม่ ประสบการณ์ไม่มี บางครั้งแจ้งลูกค้าว่า พี่ สินเชื่อพี่ไม่อนุมัตินะ ติดเครดิตบูโร นะพี่ ... เอาละทีนี้ ลูกค้าด่า เครดิตบูโร ยันโคตรเหง้าศักราชเลยครับ  ฉันจ่ายตลอดนะ บัตรนะ รถฉันก็จ่ายตลอด ถ้าฉันไม่จ่าย บัตรเครดิตฉันจะใช้ได้ไง ไม่งั้น มันก็มายึดรถฉันแล้วซิ ( แต่ในใจนะรู้ว่า จ่ายไม่ตรง แต่ก็จ่ายนะ คนเรามีจ่ายช้ากันบ้าง แค่นี้ ถึงกับติดบูโรกันเลยเหรอ )

อะ มาถึงตรงนี้ พอเข้าใจอะไรกันบ้างรึยังครับ  โอ้ยวันนี้ผมเขียนซะยาวเลย  พอดี ไม่มีอะไรมากครับ ผมได้รับการติดต่อจากท่าน ผู้บริหาร ใน เครดิตบูโร ว่า ให้ช่วยประชาสัมพันธ์ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องกับ พี่น้อง ประชาชน ให้เข้าใจเครดิตบูโร กันใหม่ ก็เลยเกิดบทความนี้ละครับ วันนี้จบแล้วครับ 

สำหรับท่านที่ ติดปัญหา กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน หรือ ขอสินเชื่อธุรกิจ  หรือ ท่านที่ติดปัญหา ผ่อนบ้านไม่ไหว จะโดนธนาคารฟ้อง ลองเข้ามาคุยกันครับ ติดต่อผมที่ LineID : @antonio   สวัสดีครับ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

ปัญหาซื้อโครงการบ้านใหม่ แล้วกู้ไม่ผ่าน จะได้เงินจองเงินดาวน์ คืนไหม?


ใครๆ ก็อยากมีบ้านใหม่ บางคน สนใจทำเลมากกว่า ชอบทำเล แต่เป็นบ้านเก่า บ้านมือสองก็ได้ บางคนชอบบ้านใหม่ ได้สิ่งอำนวยความสะดวก อะไรก็ดูดี สดใสมากกว่า บ้านมือสอง

ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับ การซื้อบ้านใหม่ ของลูกค้า ที่มีเข้ามาปรึกษากับผมเยอะมากครับ และก็เจอปัญหาคล้ายๆ กันครับ คือ กู้ไม่ผ่าน โครงการไม่คืนเงินจองให้ บางคนจองบ้านแล้ว และได้มีการผ่อนดาวน์แล้ว แต่พอกู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน ธนาคารไม่อนุมัติให้ โครงการบ้านใหม่ คืนแค่เงินดาวน์ ไม่คืนเงินจอง 

ผมขอสรุป ประเด็นสำคัญเป็นสองเรื่องนะครับ

เรื่องแรก ถ้าไปจองบ้านไว้ แล้วกู้ไม่ผ่าน จะได้เงินคืนไหม ข้อแรกนี่ ขอตอบแบบสั้นๆ เลยนะครับว่า ได้คืนหมดครับ ทั้งท่านที่วางเงินจองอย่างเดียว หรือ ทั้งจอง และผ่อนดาวน์ครับ  จากคำถามนี้ ผมไปหาข้อมูลในแง่กฏหมาย และสอบถามพรรคพวกนักกฏหมายมาหมดแล้ว สรุปว่า หากผู้ซื้อ ไม่สามารถกู้เงินธนาคารได้ ธนาคารไม่อนุมัติ จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เช่น ติดประวัติการผ่อนชำระล่าช้าเครดิตบูโร หรือ รายได้ไม่พอ อันนี้ ทุกกรณีครับ ที่โครงการบ้านจะต้องคืนเงินทั้งหมดครับ ไม่ต้องไปอ่านข้อกฏหมายภาษากฏหมายอ่านแล้วปวดหัวครับ สรุปคือ ต้องคืนนะครับ   ส่วนบางโครงการ จะเขียนในสัญญาจะซื้อจะขายไว้เลยว่า หากกู้ธนาคารไม่ผ่าน โครงการจะคืนเฉพาะเงินดาวน์ ส่วนเงินทำสัญญา หรือ เงินจองไม่คืน อันนี้ ผมว่าก็ยุติธรรมดีนะครับ ผู้ซื้อ ทำให้ผู้ขายเสียโอกาส เงินจองก็ถือว่า ค่าเสียเวลาให้กับโครงการไปเถอะครับ แต่สรุปตามข้อกฏหมายคือ ต้องคืนทั้งหมดนะครับ

เรื่องที่สอง ลูกค้าที่ กู้ซื้อบ้าน โครงการใหม่ แล้วมีปัญหา กู้ไม่ผ่าน จึงพยายาม หาแนวทาง และวิธีการ ซึ่งผมได้รับการติดต่อให้ช่วยดำเนินการยื่นกู้ให้ ปัญหาของแต่ละท่าน คือ มีหลากหลายครับ บางปัญหา ทำได้ แก้ไขได้ง่ายๆ บางปัญหาไม่ง่าย แต่ทำได้ เพราะผมเอง เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ สินเชื่อธนาคารครับ แนวทาง วิธีการ จัดเตรียมเอกสาร รวมทั้ง เส้นสายคอนเนคชั่น ที่ผมสะสมมานานเกือบ 20 ปี มีพร้อมครับ แต่ปัญหาคือ

  • เซลล์ของโครงการ ยื่นเอกสารไปพร้อมๆ กัน หลายแบงก์ เช่น ยื่นไทยพาณิชย์ กรุงเทพ กสิกรไทย กรุงศรี ทหารไทย ออมสิน อาคารสงเคราะห์ ผมเปรียบเสมือน ถ้าคุณมีปืน แล้วคุณยิงออกไปเป็นปืนกลเลย รัวๆๆๆ ยิงผิด ผิงพลาด กระสุนหมดครับ 
  • ปัญหา คือ คุณยื่นไปเกือบทุกธนาคารแล้ว ปัญหาหรือเหตุผลที่ธนาคารไม่อนุมัติก็คือ ปัญหาเดียวกันเกือบทุกธนาคาร ปฏิเสธมาเหมือนกันหมด ถ้าคุณยื่นทีละธนาคาร พอทราบปัญหา ก็แก้ไขก่อน แล้วค่อยยื่นกับธนาคารที่สองต่อได้ เพราะเรารู้แล้วว่า เราติดปัญหาอะไร แบบนี้ดีกว่าไหมครับ 
  • คุณเล่นยื่นไปเกือบหมดทุกธนาคาร แล้วจะเหลือธนาคารอะไรให้ผมยื่นซ้ำได้ละครับ ถึงผมจะมีคอนเนคชั่นกับหลายธนาคาร แต่ก็เล่น ยื่นไปเกือบครบแล้ว มันจะทำต่อไม่ได้
  • ปัญหาต่อมา ตอนนี้ เกือบทุกธนาคารที่คุณเข้าไปขอสินเชื่อ และเขาได้เข้าไปเช็คเครดิตบูโรของคุณ ธนาคารที่คุณยื่นเป็นที่สุดท้าย เขาจะเห็นว่า มีแบงก์อะไร มาขอเช็คดูประวัติเครดิตบูโรคุณไปแล้วบ้าง แบบนี้ ถ้ามีเกิน 3 แบงก์ ในรอบ 3-6 เดือน แบงก์หลังๆ เขาไม่พิจารณาเลยนะครับ รีเจคเคสเลย
ปัญหาส่วนใหญ่สำหรับท่านที่ไปซื้อบ้านโครงการ บ้านใหม่ จะเจอกันบ่อยๆ คือ แบบนี้ละครับ พูดตรงๆ เซลล์ขายบ้าน ตามโครงการบ้านใหม่ เขามีความรู้น้อย หรือ ไม่มีความรู้เลย ทำให้ มีปัญหากับลูกค้า ที่จองบ้านได้ครับ

สำหรับท่านที่ติดปัญหา จองบ้านแล้ว ติดปัญหากู้ไม่ผ่าน ลองติดต่อเข้ามา ปรึกษากันได้ครับ ที่ LineID : @antonio ยินดีครับ

โพสต์แนะนำ

ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ เทคนิค วิธีการ การ กู้เงิน ขอสินเชื่อ แก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับคนที่มีปัญหา กู้เงินซื้อบ้านไม่ผ่าน ขอสินเชื่อกับ ธนาคารไม่ผ่าน แบงก์ ไม่อนุมัติ หรือ ท่านที่มีปัญหาหนี้เสีย ภาระหนี้สินมากและยัง...

บทความที่น่าสนใจ