จากในหลายๆ ครั้งที่ผมเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับ
กรมบังคับคดี ส่วนใหญ่เนื้อหาสาระจะเป็นแง่คิดและมุมมองในส่วนของ
ลูกหนี้ หรือ ผู้ที่ถูกเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ในบทความนี้ ผมจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
หลักเกณฑ์การประมูลบ้านกรมบังคับคดี ในส่วนของนักลงทุน หรือผู้ที่สนใจจะประมูลซื้อบ้านจาก
การขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีกันนะครับ
หลักเกณ์การประมูลบ้านกรมบังคับคดี รายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ ผมขอไม่กล่าวถึงนะครับ จะให้ข้อมูลในส่วนของหัวข้อหลัก ดังนี้
- การวางเงินเพื่อประมูลทรัพย์ สามารถใช้ได้ทั้ง เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็ค สั่งจ่าย "กองคลัง กรมบังคับคดี"
- ราคาประเมิน ไม่เกิน 500,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
- ราคาประเมิน เกิน 500,000 - 1,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 50,000 บาท
- ราคาประเมิน เกิน 1,000,000 - 5,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 250,000 บาท
- ราคาประเมิน เกิน 5,000,000 - 10,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
- ราคาประเมิน เกิน 10,000,000 - 20,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
- ราคาประเมิน เกิน 20,000,000 - 50,000,000 บาท วางเงินไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท
- ราคาประเมิน เกิน 50 - 100 ล้านบาท วางเงินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
- ราคาประเมิน เกิน 200 ล้านบาท วางเงินตามที่เจ้าพนักงานกำหนด
- ราคาตั้งในการประมูล
- ครั้งที่ 1 ราคาตั้งประมูล 100% ของราคาประเมิน
- ครั้งที่ 2 ราคาตั้งประมูล 90% ของราคาประเมิน
- ครั้งที่ 3 ราคาตั้งประมูล 80% ของราคาประเมิน
- ครั้งที่ 4 ราคาตั้งประมูล 70% ของราคาประเมิน
- และประมูลครั้งต่อๆ ไป จะไม่ต่ำกว่า 70% ของราคาประเมิน
- หากทรัพย์ ที่มีคนมาประมูลซื้อได้ แล้วทิ้ง คือ ไม่มาโอนและชำระเงิน ภายในระยะเวลาที่กำหนดจะนำทรัพย์ดังกล่าวออกมาประมูลใหม่ โดยขั้นในการวางเงินจะมากกว่าเดิม 2 เท่า
- ใครที่เข้ามาประมูลแล้วไม่สามารถประมูลได้ จะได้เงินหรือแคชเชียร์เช็คคืนทันทีภายในวันประมูล
- ผู้ซื้อได้ จะต้องชำระเงินค่าทรัพย์ที่ประมูลได้ ภายใน 15 วัน แต่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 90 วัน แต่ในการยื่นคำร้อง ต้องยื่นก่อนครบกำหนด 15 วัน กรณีที่ใช้ชื่อใครในการประมูล เวลาขั้นตอนการโอน จะต้องโอนซื้อขายให้กับบุคคล คนนั้นเท่านั้น เว้นแต่จะขอใส่ชื่อร่วมตั้งแต่แรกในการประมูล หากผู้ประมูล จำเป็นต้องกู้เงินสินเชื่อจากธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน ควรทำเรื่อง Pre Approved ก่อน
- ในกรณีที่ ประมูลซื้อทรัพย์นั้นได้แล้ว ลูกหนี้ หรือ บริวาร ไม่ยอมออกจากทรัพย์ ผู้ซื้อสามารถยื่นคำขอต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ เพื่อขอให้ศาลออกคำบังคับให้ลูกหนี้ หรือ บริวาร ออกจากทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องไปฟ้องขับไล่ลูกหนี้หรือบริวารเป็นคดีใหม่อีก หากยังไม่ออก ขอให้ศาลออกหมายบังคับเพื่อให้เจ้าพนักงานไปทำการขับไล่ลูกหนี้ และบริวารให้ได้
- กรณีที่ผู้ประมูลทิ้งมัดจำ หากขายใหม่ได้ราคาน้อยลงกว่าเดิม ผู้ทิ้งเงินมัดจำต้องรับผิดชอบส่วนต่างราคา และค่าใช้จ่ายในการประมูลด้วย
- แต่หากผู้ที่ทิ้งมัดจำแล้วกลับมาประมูลใหม่ จะต้องเพิ่มเงินมัดจำ 2 เท่า และหากมาประมูลใหม่ และประมูลได้ จะขอขยายระยะเวลาการโอนออกไป จะต้องวางเงินเพิ่มเท่าไร ขึ้นอยู่กับเจ้าพนักงานเป็นผู้กำหนด
ที่ผมสรุปมาทั้งหมดนี้ เป็นข้อหลักเกณฑ์ หลักๆ ในการที่นักลงทุน ที่สนใจจะลงทุน ซื้อบ้าน คอนโด ที่ดิน จากกรมบังคับคดี ครับ บทความของผมนี้ หวังว่า จะเป็นปนะโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ ขอบคุณครับ สำหรับเพื่อนๆ นักลงทุน ผู้รักการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงิน ติดต่อผมได้ครับ โดย
คลิกที่นี่ ครับ